Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
น้ำมันเครื่อง สามห่วง 4A-FE
*ShoutBox
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำมันเครื่อง สามห่วง 4A-FE  (อ่าน 2408 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
njn2003
Freshy
*


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« เมื่อ: 03 มีนาคม 2014, 15:12:21 »

น้ำมันเครืองสามห่วงตามสเปกโรงงาน 20W-50 ผมเลยมาลองใช้ของโมบิล 5W-50 แบบฟูลซินเนติค แต่มีคนบอกว่า มันหนืดไป ให้ใช้ 0W-40 แทนจะลื่นไหลดีมาก ใครเคยใช้บ้างและรถอายุ 10ปีขึ้นสามารถใช้ได้ใหม
บันทึกการเข้า
ake2952
Freshy
*


กำลังใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 86


« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มีนาคม 2014, 12:24:58 »

-ตอบอยากนะครับแล้วแต่คนที่ใช้ดีหรือไม่ดีครับ.....ลองอ่านอยู่ครับ
-
ก่อนอื่นเลย ต้องทำความเข้าใจ ตรงนี้ก่อนว่า ตัวหน้าหลัง หมายถึงอะไร

ความหมายของเกรดน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างกระป๋องนั้นมีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้สองประเภทด้วยกันดังนี้
- แบ่งตามความหนืด
- แบ่งตามสภาพการใช้งาน
การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย
พูดถึงมาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น
น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)
ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบ็นซินได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

ทีนี้ พอจะเข้าใจบ้างแล้ว ว่า ประเทศไทยเรา ส่วนใหญ่ใช้ น้ำมันแบบ รวมเกรด คือ ได้ ทั้งร้อนและเย็น

ผมจะสรุปให้ นะครับ คือ

1 0W-40 เนี่ย ใช้ได้ใน อากาศที่หนาว ถึง ติดลบ 30 องศา แต่ไทยคงไม่มีแน่ๆ และร้อน ความหนืดมาก ก็ใช้ได้ ถึง 50 องศา +

2 5W-30 เนี่ย ใช้ได้ใน อากาศที่หนาว ถึง ติดลบ 25 องศา ในไทยไม่มีอีกเช่นกัน และร้อน ความหนืดน้อยกว่า ก็ใช้ได้ถึง 50 องศา + เช่นเดียวกาน

จะเห้นว่า ตัวหน้า เป็น winter เขตหนาว เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้ จะ 5 หรือ 0 ก็ แล้วแต่ ทีนี้ มาดูกันที่ค่าความหนืดเป้นหลัก ว่าคุณต้องการ ลื่น เหมือนกึ่งสังเคราห์ ที่ Honda ใช้เติม เกรด 5w-30 หรือ จะเอาแบบ สังเคราห์แท้ 0w-40 ที่ เค้านิยม เพราะ คุณสมบัติ น้ำมันสังเคราห์แท้ จริงๆ หลักๆๆ คือการปกป้องเครื่องยนต์ ของคุณ ดังนั้น ความเข้มข้นมาก การจับตัวที่กระบอกสูบก็จะมากกว่า เกรด 30 อยู่แล้ว ก็ปกป้องได้มากกว่า แต่ถ้าชอบลื่นๆ ก็ 30

เพราะ Honda สนับสนุน ทั้ง 30 และ 40
แต่ถ้ากึ่ง ส่วนใหย่ จะ 5w-30 ส่วน สังเคราห์แท้ 0w-40

จบของไทยไปแล้ว มาดู สากล บ้าง

2 ตัวนี้ ถ้า วิ่งในเขตหนาว ตัว 0w จะลื่นกว่า ตัว 5w เพราะความเข็มข้นน่้อยกว่า แต่ถ้าวิ่งในเขตร้อน ตัว 30 จะลื่นกว่าตัว 40

ทีนี้คงหมดคำถามกับคำว่า ตัวไหนดีกว่ากัน เพราะ มันใช้ ในสภาพที่แตกต่างครับ ^^
บันทึกการเข้า
njn2003
Freshy
*


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มีนาคม 2014, 14:32:28 »

ขอบคุณครับ ผมกำลังจะลองใช้ 0W-40 ของโมบิลดูนะครับ แต่ก่อนหน้านี้ผมก็ใช้ตัวหลัง 40มาตลอด เดียวต้องจัดสักกระป๋องแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: