Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
เอกสารที่ต้องเตรียม ชิมลาง ไทย - ลาว

เอกสารที่ต้องเตรียม ชิมลาง ไทย - ลาว

(1/3) > >>

Sถส่JหuมปัJ™:
หนังสือเดินทาง (หรือพาสปอร์ต) ประจำรถคันนั้นๆ เพื่อตรวจสอบได้อยู่ตลอดเวลา พร้อมกับติดสติกเกอร์เป็นภาษาอังกฤษตัวT ที่ย่อมาจากคำว่า "ไทยแลนด์ " ติดอยู่ที่กระจกด้านหน้าคนขับ แบบเห็นชัดเจนที่รถทุกคันต้องปฏิบัติเหมือนกันหมด
โดยหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตประจำรถนี้ เจ้าของรถมาติดต่อขอทำได้ที่ ที่ทำการขนส่งจังหวัด ในเวลาราชการ โดยมีหลักฐานดังนี้

เอกสารประกอบคำขอหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศฯ ไทย-ลาว (ชั่วคราว)
1. กรณีบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนารายการจดทะเบียนรถและหน้ารายการชำระภาษี
- หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของรถ (กรณีที่เจ้าของไม่มาด้วยตนเอง)
- ยื่นคำขออื่นๆ

2. กรณีห้างหุ้นส่วนฯ บริษัทฯ และบริษัทจำกัดมหาชน (หรือรถที่ติดไฟแนนซ์)
- หนังสือรับรองบริษัท/ห้างฯ
- สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของกรรมการผู้จัดการที่มีอำนาจ
- สำเนารายการจดทะเบียนรถและหน้ารายการชำระภาษี
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่มาด้วยตนเอง) หรือผู้เช่าซื้อ
- ยื่นคำขออื่น ๆ

รายการเอกสารแสดงความประสงค์จะทำการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างไทย-ลาว
การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง

1. สำเนาหรือภาพถ่าย ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถ ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ

2. เอกสาร/หลักฐาน ประกอบคำขอรับใบอนุญาต ประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ ประเภทการขนส่งไม่ประจำทาง ดังต่อไปนี้
บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
1. หนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และกรรมการของบริษัททุกคน ซึ่งรับรองไว้ไม่เกินหกเดือน

2. รายชื่อกรรมการของบริษัททุกคน
3. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวของบุคคล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของกรรมการของบริษัททุกคน

4. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการของบริษัททุกคน

5. รายชื่อและสัญชาติของผู้ถือหุ้นทุกดน และจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ

6. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท

7. ตัวอย่างรอยตราประทับของผู้ยื่นคำขอ 2 ตรา (ถ้ามี)

8. ตัวอย่างเครี่องหมายประจำรถ

9. รูปถ่ายสำนักงานและสถานที่เก็บรถขนาด 7.60X12.70 เชนติเมตร ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน อย่างละ 2 รูป

10. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ หรือสิทธิการใช้สถานที่เก็บรถ

11. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองรถ
หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ และเครื่องหมายแสดงประเทศ ให้มีลักษณะรูปแบบ ขนาดและข้อความเป็นรูปตัว 2 ติดไว้หน้าและหลังรถ โดยที่หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต ประจำรถนี้ มีรูปร่างคล้ายพาสปอร์ตของคนเราทั่วไป ด้านหน้าปกมีตราครุฑสีดำ มีอยู่ 3 แบบแตกต่างกัน

แบบที่ 1
เป็นเล่มสีเขียว
สำหรับรถที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 คือเป็นรถขนาดใหญ่รถบรรทุกต่างๆ รถสิบล้อ - รถขนส่งน้ำมัน - รถทัวร์ - รถโดยสารที่มีเลขนำหน้า 30 - รถบรรทุกไม่ประจำทางที่มีเลขนำหน้าว่า 70 เป็นต้น โดยผู้ที่ยื่นขอในแบบที่ 1 เล่มเขียวนี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ และตามปกติ การขอต้องส่งเรื่องให้ทางกรมการขนส่ง (กรุงเทพๆ) เป็นผู้อนุมัติเป็นรายๆ ไป และเนื่องจากช่วงนี้ เป็นช่วงริเริ่มโครงการใหม่ เป็นการอำนวยความสะดวก ให้เป็นการชั่วคราว ได้ให้ทางขนส่งจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 47 นี้

แบบที่ 2
เป็นเล่มสีม่วง
สำหรับที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 คือ รถส่วนบุคคลทั่วไป ที่มีเลขนำหน้าว่า 80 หรือรถส่วนตัวทั่วไป - รถปิคอัพ - รถตู้ - รถเก๋ง ต้องเสียค่าธรรมเนียมปีละ 55 บาท

แบบที่ 3
เป็นสีฟ้า
สำหรับรถของคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ในงานราชการ
โดยที่ผู้มาติดต่อขอทำเรื่องดังกล่าวนี้ จะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมงก็แล้วเสร็จ แบบรอรับกลับไปได้เลย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สนง.ขนส่งจังหวัด



ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และการออกเครื่องหมาย อนุญาตรถระหว่างประเทศและเครื่องหมายแสดงประเทศ
โดยที่ได้มีความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการนำรถเข้าไปใช้ภายในประเทศระหว่างกันและกัน โดยในการใช้รถในประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องมีหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ และต้องติดเครื่องหมายแสดงประเทศไว้ตลอดเวลาที่ใช้รถนั้น
เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงดังกล่าว กรมการขนส่งทางบก จึงได้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถ ที่จะนำรถออกไปใช้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ทราบและเตรียมการขออนุญาตไว้เป็นการล่วงหน้า กรมการขนส่งทางบก จึงได้ออกระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการออกหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ และเครื่องหมายแสดงประเทศสำหรับการขนส่งทางถนนระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2547
2. ความตกลงระหว่างสองประเทศ จะได้เริ่มถือปฏิบัติต่อกัน เริ่มตังแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 ฉะนั้น ประชาชนเจ้าของรถผู้ใด ประสงค์จะขอรับหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ และเครื่องหมายแสดงประเทศ ก็ให้ยื่นดำขอรับหนังสืออนญาต และเครื่องหมายแสดงประเทศตามระเบียบได้ตั้งเเด่บัดนี้ เป็นต้นไป
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2547
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
(นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต)
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก


Sถส่JหuมปัJ™:
ดาวน์โหลดคำขอ เพื่อยื่นขอพาสปอทรถ กับขนส่งทางบกได้ที่ลิงค์นี้ครับ
http://www.dlt.go.th/eform/truckrg4.pdf

ถ้าไม่ได้อย่างไรข้างล่างต่อเลยครับ
E-download form เป็นบริการหนึ่งของกรมการขนส่งทางบก ในการให้บริการประชาชนสามารถ Download แบบคำขอต่าง ๆ
แล้วนำมายื่นต่อกรมการขนส่งทางบก เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการ และดำเนินการด้านต่าง ๆ ซึ่งจัดทำในรูปแบบเอกสาร PDF
http://www.dlt.go.th/eform/index.php

Sถส่JหuมปัJ™:
ขึ้นตอนที่สอง การยื่นเอกสารกับด่านตรวจคนเข้าเมือง ฝั่งไทย
ณ.ด่านที่ท่านจะนำรถออก
โดยกรอกเอกสารแบบคำขอ 2 อย่าง คือ 1 ต.ม 2 และ ต.ม 3 ดาวน์โหลดได้เลยครับด้านล่าง

แบบคำขอ รายการเกี่ยวกับพาหนะ (ตม. ๒)
http://www.immigration.go.th/nov2004/download/tm2.doc

แบบคำขอ บัญชีคนโดยสาร (ตม. ๓)
http://www.immigration.go.th/nov2004/download/tm3.doc

ให้ทำการกรอกให้ครบถ้วน รถ1คัน ต้องมีตม.2และตม.3 แบบละ2แผ่น
2แผ่นเป็นการนำรถออก และอีก2แผ่นเป็นการนำรถเข้า เวลากลับเข้าด่านคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด

ส่วนเอกสารประกอบมีดังนี้
1.สำเนาทะเบียนรถพร้อมหน้าเสียภาษี
2.สำเนาใบขับขี่(ผู้นำรถออก)
3.ในกรณีข้ามไป สปป.ลาว ต้องมีพาสปอร์ทรถ(เล่มม่วง)
4.ในกรณีเจ้าของรถไม่ไช่คนนำออก ต้องมีหนังสือมอบอำนาจนำรถออกด้วยดังนี้
4.1 หนังสือมอบอำนาจนำรถออกนอกราชอาณาจักร + อากรแสมป์ 10 บาท (ในกรณีเจ้าของรถไม่ได้ขับรถเองหรือติดไฟแนนซ์
ดาวน์โหลด หนังสือมอบอำนาจ ได้ที่นี้ครับ ทั้งด้านหน้าและหลัง
http://www.dlt.go.th/eform/drl6.pdf
http://www.dlt.go.th/eform/drl6_2.pdf
4.2 สำเนาทะเบียนบ้าน+บัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ(เจ้าของรถหรือผู้มีอำนาจลงนามของไฟแนนซ์)+ลายเซ็นรับรอง
4.2.1 ในกรณีติดไฟแนนซ์ ต้องมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนของไฟแนนซ์ประกอบด้วย
4.3 สำเนาทะเบียนบ้าน+บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ(ผู้นำรถออก)+ลายเซ็นรับรอง

เอกสารทั้งหมดยื่นพร้อม ต.ม 2 และ ต.ม 3 ณ.ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ท่านนำรถออก
เสาร์-อาทิตย์ หรือนอกเวลาราชการ เสียค่าล่วงเวลา สำหรับรถยนต์ คันละ 100 บาท
ขั้นตอนที่ สาม ยื่นขอกับด่านศุลกากร ฝั่งไทย
ณ.ด่านที่ต้องการนำรถยนต์ออก


ส่วนเอกสารประกอบมีดังนี้
1.สำเนาทะเบียนรถพร้อมหน้าเสียภาษี ในกรณีไม่ติดไฟแนนซ์ ต้องนำเล่มจริงมาแสดงด้วย
2.สำเนาใบขับขี่(ผู้นำรถออก)
3.ในกรณีข้ามไป สปป.ลาว ต้องมีพาสปอร์ทรถ(เล่มม่วง)
4.ในกรณีเจ้าของรถไม่ไช่คนนำออก ต้องมีหนังสือมอบอำนาจนำรถออกด้วยดังนี้
4.1 หนังสือมอบอำนาจนำรถออกนอกราชอาณาจักร + อากรแสมป์ 10 บาท (ในกรณีเจ้าของรถไม่ได้ขับรถเองหรือติดไฟแนนซ์
ดาวน์โหลด หนังสือมอบอำนาจ ได้ที่นี้ครับ ทั้งด้านหน้าและหลัง
http://www.dlt.go.th/eform/drl6.pdf
http://www.dlt.go.th/eform/drl6_2.pdf
4.2 สำเนาทะเบียนบ้าน+บัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ(เจ้าของรถหรือผู้มีอำนาจลงนามของไฟแนนซ์)+ลายเซ็นรับรอง
4.2.1 ในกรณีติดไฟแนนซ์ ต้องมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนของไฟแนนซ์ประกอบด้วย
4.3 สำเนาทะเบียนบ้าน+บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ(ผู้นำรถออก)+ลายเซ็นรับรอง
เอกสารทั้งหมดยื่นต่อเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร ณ.ด่านที่ท่านต้องการนำรถออก ในกรณี เข้าและออกด่านเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะเขียนใบ แบบ454 ให้ และขากลับต้องนำมายื่นคืนที่ด่านเดิม

และในกรณี ออกด่านหนึ่ง และกลับเข้ามาอีกด่านหนึ่งไม่ไช่ด่านเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะพิมพ์ใบขนพิเศษให้ และเช่นกันเมื่อกลับมาถึงด่าน ต้องคืนให้กับเจ้าหน้าที่

ทั้งหมดนี้ไม่มีค่าบริการ (ยกเว้นอยากให้เอง)
ตัวอย่างใบขนพิเศษ ที่ทาง ศุลกากรไทยออกให้
ตัวอย่าง 454 ด้านหน้าและด้านหลัง ที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยออกให้ ในกรณีเข้าออกด่านเดียวกัน ใช้แทนใบขนพิเศษได้เหมือนกัน
เมื่อผ่านขั้นตอนฝั่งไทยและลาว ตรวจดูว่า พาสปอทรถ(เล่มม่วง)มีการประทับออกจริงหรือไม่ ออกหรือเข้า ตรงหรือไม่ มิเช่นนั้น เล่มม่วงนี้ใช้ไม่ได้ในครั้งต่อไป ถือว่าเสียครับ
ขั้นตอนการผ่านด่าน พาสี ,คมนาคม และ ตรวจคนเข้าเมือง สปป.ลาว
ขั้นตอนที่1 การยื่นต่อคมนาคม
1.ให้นำใบขนพิเศษ หรือ แบบ 454 ที่ทางศุลกากรไทยออกให้พร้อมกับ พาสปอทรถ(เล่มม่วง) นำมายื่นต่อห้องคมนาคม เพื่อขอ ป.2 (ใบอนุญาติให้ใช้รถในสปป.ลาว) ใบสีเขียว และใบคมนาคม(สีขาว) ในใบสีเขียวจะแจ้งระบุเส้นทาง และแขวงที่ท่านจะเดินทางไป พร้อมจำนวนวัน ชื่อคนขับ ยี่ห้อรถ ทะเบียน เลขเครื่องและเลขตัวถัง ตรวจสอบให้ดีก่อนรับมาน่ะ
ตัวอย่างใบคมนาคม ให้ติดหน้ากระจก

ตัวอย่างใบ ป.2 เก็บไว้ให้ดีอย่าทำหาย เมื่อข้ามกลับส่งคืนที่ด่านภาษีขาออก
ขั้นตอนที่ 2 การยื่นต่อ พาสีและประกันภัย
2.พอได้รับ ป.2 ใบสีเขียวแล้วนำเอกสารทั้งหมดยื่นต่อ ห้องพาสี เพื่อชำระเงินค่าพาสีและประกันภัย พรบ. แล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะให้ใบเสร็จมา เป็นอันเสร็จ บางด่านอยู่ที่เดียวกัน คนเดียวกัน บางด่านประกันภัยจะอยู่คนละแห่ง พรบ.ลาว สำคัญมากๆ เป็นใบเล็กๆ เล็กพอๆกับกล่องไม้ขีดสีเขียว แถมสติกเกอร์ปิดกระจกหน้าให้ด้วย


ขั้นตอนที่ 3 ตรวจคนเข้าเมือง
3.นำเอกสารทั้งหมดที่ใด้รับจากขั้นตอนที่2และ3 พร้อมทั้ง พาสปอทรถ(เล่มม่วง)และพาสปอทคนขับ นำมายื่นต่อ ห้องตรวจคนเข้าเมือง เพื่อประทับตราเข้าเมือง เป็นอันเสร็จเอกสารทั้งหมด
เวลาไปเที่ยวเป็นหมู่คณะ (เที่ยว) มิไช่ไปเชิงธุรกิจ
เนื่องจากการท่องเที่ยวและกฎหมายท่องเที่ยว ของ สปป.ลาว จะเข้มงวดกับนักท่องเที่ยวที่เป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ 2 ท่านขึ้นไป ต้องผ่านบริษัทท่องเที่ยวที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นคณะๆไปและเป็นครั้งคราวไป ซึ่งแตกต่างจาก จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยว ถ้าไม่มีทั้ง 3 ใบนี้ โอกาสโดนตำรวจรีดไถ อาจเป็นไปได้ (การทำผิดกฎหมายบ้านเมืองเขา ถ้าเขาไม่เห็นไม่ตรวจก็แล้วไป แต่ถ้าโดนเมื่อไหร่ไม่คุ้มครับ)
ใบแต่ง

ท่าอากาศยาน110™:
 hozc

Sถส่JหuมปัJ™:
เอามาลงไว้ก่อน เด๋ว ว่างๆ นั่งสรุปให้  ฮี่ๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป