Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
บทความรู้ หัวเทียน "เย็น-ร้อน" เลือกอย่างไรดี
*ShoutBox
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความรู้ หัวเทียน "เย็น-ร้อน" เลือกอย่างไรดี  (อ่าน 25987 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
GiftSTFZ™
Guardian of AE Thailand
ยาม
Professor
**


{{[[BluE PoWeR]]}}

กำลังใจ: 1064
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: AE101
รหัสเครื่องยนต์: 4A-GE 20V
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆ
สังกัดพื้นที่: บางกอกเหนือ
ที่อยู่: ลาดพร้าว
กระทู้: 12,677


เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2011, 15:15:43 »

หัวเทียน "เย็น-ร้อน" เลือกอย่างไรดี



   หัวเทียนร้อน ก็คือ ตัวมันเองจะระบายความร้อนออกได้ช้า เมื่อเราใช้งานจริงในห้องเผาไหม้มันมีความร้อนจากการจุดระเบิด เมื่อหัวเทียนรับความร้อนนั้นมา จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมที่หัวเทียนอยู่อย่างนั้น

   หัวเทียนเย็น ก็คือ... ตัวมันสามารถถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็วกว่าหัวเทียนร้อน แต่ใช่ว่าจะหายร้อนเลยนะ อย่างนั้นไม่ใช่ จริง ๆ แล้ว หัวเทียนจะมีความร้อนสะสมอยู่ระดับหนึ่ง เพื่อให้แห้งตลอดเวลาเป็นทั้งหัวเทียนร้อนและหัวเทียนเย็น เพียงแต่ว่าหัวเทียนเย็น จะถ่ายเทความร้อนได้เร็วกว่าเท่านั้นเอง

   การเลือกใช้งาน ผมลองยกตัวอย่างรถที่วิ่งใช้งานในเมืองทุกวัน วิ่งช้าตลอกเวลา คลานกระดึ๊บ ๆ ไปเรื่อย รถพวกนี้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้จะต่ำมาก ซึ่งในสถานการณ์นี้ควรเลือกใช้ "หัวเทียนร้อน" เพราะว่าเราต้องการระบายความร้อนช้า ๆ เพื่อเก็บความร้อนสะสมไว้ ไม่ให้ "หัวเทียนบอด...!" ไงจ๊ะ

   กลับกัน ถ้าเป็นรถที่ใช้ ความเร็วสูงมาก ๆ ถ้าเราใช้หัวเทียนร้อน มันจะทำให้ระบายความร้อนไม่ทัน อาจสร้างความเสียหายได้ต่าง ๆ นานา เช่น หัวเทียนละลาย กระเบื้องแตก และเกิดอาการชิงจุดระเบิด ก็เป็นได้ "คือหัวเทียนมันร้อนเกินไป มันก็เหมือนโลหะเผาไฟร้อนแดง เมื่อมีไอดีเข้ามา มันเป็นเชื้อเพลิงพร้อมที่จะจุดระเบิด พอมากระทบตัวหัวเทียนปุ๊บ ซึ่งมันยังไม่ทันถึงจังหวะจุดระเบิด มันก็ชิงจุดระเบิดทันที จากความร้อนสะสมของหัวเทียน"


   ซึ่งรถที่ใช้ความเร็วตลอดควรเลือกใช้ "หัวเทียนเย็น" เพื่อการระบายความร้อนจะดีกว่า เราต้องใช้งานให้ถูกประเภท

   รถแต่งเครื่องซิ่ง มันจะมีความร้อนสูงมากกว่าเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป ซึ่งเครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่อง "Over Lap" มาก จุดระเบิดไม่ค่อยดีในรอบต่ำ หัวเทียนที่ใช้จึงเป็น หัวเทียนเย็น เสมอ

   แต่ถ้าเรานำเครื่องซิ่งวิ่งผิดที่ (ในเมือง) อันนี้ก็ต้องจบข่าว "ผิดแผน" กันไป เพราะเครื่องประเภทนี้มันต้อง "เหนี่ยว" อย่างเดียว แต่ถ้ามาวิ่งผิดที่ รับรองวิ่งไม่ได้เลย เพราะเครื่องซิ่งเหล่านี้ ส่วนมากรอบต่ำมันวิ่งไม่ค่อยดีแล้ว ยิ่งเจอรถติดในเมืองอีก รับรองไม่รอด "บอดสนิท" ซึ่งถ้าจะมาใช้ในเมืองจริง ๆ คงต้องเปลี่ยนเป็นหัวเทียนร้อน แทน

   ส่วนเครื่องยนต์สแตนดาร์ดทั่ว ๆ ไป ควรใช้เบอร์หัวเทียนให้ตรงกับที่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ กำหนดมา และ และควรตรวจสอบทุก ๆ 10,000 กิโลเมตรครับ

หากรถธรรมดาๆ ที่ไม่ได้แต่งจูนให้แรงหรือเพิ่มไฟเกินสเป็ค เราก็ต้องใช้หัวเทียน Heat Range ต่ำๆ
หรืออย่างที่เรียกว่าหัวเทียนร้อน คือตั้งแต่เบอร์ 7 ลงมา
หากเป็นรถจูนกล่องปรับบูท เพิ่มไฟก็จำเป็นที่ต้องใช้หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ดี มีค่า Heat Range สูงๆ
อย่างหัวเทียนเย็น ที่มีเบอร์กำหนด ตั้งแต่เบอร์ 8 ขึ้นไป

ห้องเผาไหม้ของรถที่ใช้แก๊ส (LPG) จะร้อนกว่ารถใช้น้ำมัน
เนื่องจาก แก๊ส ให้ค่าความร้อนสูงกว่าน้ำมันมากครับ

หัวเทียนเริ่มจากเบอร์ปกติ ถ้าใช้ได้ดี ก็ไม่ต้องเปลี่ยน
ถ้ายังมีอาการสะดุดหรือ Back fire ก็เพิ่มเบอร์ขยับไปใช้หัวเทียนเย็น อย่าง 8 - 9



เครดิต : http://www.marketatnation.com


อยากอ่านบทวิเคราะห์เชิงลึกเชิญ... http://www.me.psu.ac.th/~nikol/ignition.html
บันทึกการเข้า

GiftSTFZ™
Guardian of AE Thailand
ยาม
Professor
**


{{[[BluE PoWeR]]}}

กำลังใจ: 1064
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: AE101
รหัสเครื่องยนต์: 4A-GE 20V
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆ
สังกัดพื้นที่: บางกอกเหนือ
ที่อยู่: ลาดพร้าว
กระทู้: 12,677


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2011, 15:16:01 »

เพิ่มเติมอีกนิด....

หัวเทียนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด โดยทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูงจากคอยล์แล้วทำให้เกิดประกายไฟ กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน โดยทั่วไปจะกระโดดจากเขี้ยวกลางไปลงดินที่เขี้ยวด้านล่าง เพื่อทำการจุดระเบิดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกระบอกสูบ

            การเลือกใช้หัวเทียนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์มีข้อควรคำนึงที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ

ค่าความร้อน
ความยาวเกลียว
ค่าความร้อน เนื่องจากหัวเทียนยื่นเข้าไปในห้องเผาไหม้ ได้รับความร้อนจากห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ความสามารถในการระบายความร้อนนี้เรียกว่า “ค่าความร้อน” ซึ่งหัวเทียนที่เราเรียกกันว่า หัวเทียนร้อน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้ช้า) หรือ หัวเทียน (หัวเทียนที่ระบายความร้อนได้เร็ว) สามารถดูได้จากเบอร์ของหัวเทียน
ความยาวเกลียว การเลือกหัวเทียนควรจะต้องมีความระวังในเรื่องความยาวเกลียวด้วยเพราะหากขนาดเกลียวยาวเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวลูกสูบเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน

ความหมายของเบอร์หัวเทียน (NGK)

BP6HS
อักษรตัวแรก หมายถึง ขนาดความโตของเกลียวหัวเทียน (A=18mm, B=14mm, C=10mm, D=12mm)
อักษรตัวที่สอง หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนมาตรฐาน (P=มีกระเบื้องเคลือบฉนวน)
ตัวเลขถัดไป หมายถึง หัวเทียนร้อนหรือเย็น โดยจะมีตั้งแต่เลข 2-13 (หรือมากกว่า)
            - เลขยิ่งน้อย หัวเทียนยิ่งร้อน, เลขยิ่งมาก หัวเทียนยิ่งเย็น
ตัวอักษรหลังตัวเลข หมายถึง ความยาวของเกลียวหัวเทียน (E=19mm, H=12.7mm, L=11.2mm)
อักษรตัวถัดไป หมายถึง แบบหรือชนิดของหัวเทียนพิเศษ (S=หัวเทียนแบบมาตรฐาน, G=หัวเทียนรถแข่ง)
            หัวเทียน นอกจากจะเป็นตัวทำให้เกิดประกายไฟในระบบจุดระเบิดแล้ว อาการผิดปกติจากเครื่องยนต์บางอย่าง สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้จากสภาพของหัวเทียน ดังนี้

            - หัวเทียนสภาพปกติ
จะมีคราบสีเทาหรือสีน้ำตาลที่ปลายฉนวน เขี้ยวมีการสึกหรอน้อย

            - มีคราบเขม่าดำ แห้ง เกาะที่ปลายฉนวน เขี้ยวและด้านใน
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดเย็นไป, ไส้กรองอากาศอุดตัน, โช้คค้างหรือโช้คนานเกินไป ตั้งไฟอ่อน
มากเกินไปหรืออาจเป็นที่ระบบจุดระเบิดขัดข้อง
แก้ไข เปลี่ยนหัวเทียนชนิดร้อนขึ้น (ลดเบอร์ลง) และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ถูกต้อง

             - มีคราบน้ำมันเปียกดำ เกาะที่ปลายฉนวน,เขี้ยวไฟ
อาการ สตาร์ทติดยาก เร่งความเร็วได้ไม่ดี เครื่องยนต์เดินไม่เรียบขณะเดินเบา
สาเหตุ แหวนลูกสูบอาจสึกหรือสัมผัสลูกสูบไม่เต็มหน้า หรือส่วนผสม (เชื้อเพลิงและอากาศ)
หนาเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดร้อนขึ้น, ปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ตามมาตรฐาน หรือ ถ้ายังไม่หาย ให้ทำการ
ตรวจเช็ค ลูกสูบและแหวนลูกสูบ

            - กระเบื้องแตกร้าว คล้ายเกิดจากความร้อนจัด
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะทางไกล หรือบรรทุก
ของหนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนไป หรือตั้งไฟแก่เกินไป หรือไม่ก็ระบบระบายความร้อนบกพร่อง
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น หรือปรับตั้งไฟ จุดระเบิดให้ถูกต้อง ตลอดจนปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์
ใหม่

            - กระเบื้องถูกเผาจนเป็นสีขาว
อาการ เครื่องยนต์วิ่งไม่ออกเวลาใช้ความเร็วสูงนานๆ ขึ้นที่สูงชันเป็นระยะไกล หรือบรรทุกของ
หนักมาก
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม
บางเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่

            - เขี้ยวไฟละลาย
อาการ อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวเทียนชำรุดและเป็นอันตรายต่อลูกสูบ
สาเหตุ ใช้หัวเทียนชนิดร้อนเกินไป ใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อกเทนต่ำไป ตั้งไฟแก่เกินไป หรือส่วนผสม
บางเกินไป
แก้ไข ใช้หัวเทียนชนิดเย็นขึ้น ใช้น้ำมันอ๊อกเทนสูงขึ้น หรือตั้งไฟจุดระเบิดให้ถูกต้อง รวมทั้ง
ตรวจเช็คการระบายความร้อน และปรับตั้งคาร์บูเรเตอร์ใหม่
บันทึกการเข้า

toey ramintra
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****


versus thailand

กำลังใจ: 37
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,309


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2011, 19:30:11 »

 ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า

jod87
AE Thailand Club Chairman
Professor
*



กำลังใจ: 2662
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE100
รหัสเครื่องยนต์: ก็แค่ 1,600
อุปกรณ์แต่งรถ: เปลี่ยนไปตามกาละและเทศะ
สังกัดพื้นที่: North BKK. Area
ที่อยู่: ลาดพร้าว-เลียบด่วนฯ
กระทู้: 16,150


« ตอบ #3 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2016, 20:47:55 »

 สุดยอด
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: