Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
ท่อไอเสียVCEลิ้นแปรผันเร่งขึ้นไวตั้งแต่เดินเบา/กลางแรงขึ้นอีก/ปลายลากได้เพิ่ม/ไดโน1,2,3(ดูลาก
*ShoutBox
หน้า: 1 ... 57 58 [59] 60 61 ... 67   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่อไอเสียVCEลิ้นแปรผันเร่งขึ้นไวตั้งแต่เดินเบา/กลางแรงขึ้นอีก/ปลายลากได้เพิ่ม/ไดโน1,2,3(ดูลาก  (อ่าน 311411 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1450 เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2019, 21:19:17 »




ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1451 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2019, 21:41:23 »

บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1452 เมื่อ: 12 สิงหาคม 2019, 20:15:43 »

เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง


ทรงพระเจริญ



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1453 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2019, 22:09:28 »




วันนี้วันพระ และวันสารทจีน
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1454 เมื่อ: 29 สิงหาคม 2019, 21:50:54 »

บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1455 เมื่อ: 06 กันยายน 2019, 23:06:23 »



เมื่อหลายปีก่อนผมใช้งานรถเก๋งอยู่คันหนึ่ง รถคันนี้ติดแกส LPG ทำเฮดเดอร์แบบ 4:2:1 มา แถมด้วยหม้อพักทุกลูกเป็นไส้ตรงอีก ถึงแม้จะเป็นเกียร์ธรรมดาแต่ก็ขับยากมา ยากในช่วงรอบต่ำเพราะเรี่ยวแรงหายหมด (เรี่ยวแรงจะดีเฉพาะรอบสูง แต่ใครจะลากรอบสูงตลอด ยังไงรอบเครื่องก็จะต้องกวาดขึ้นไปจากรอบต่ำอยู่เสมอ ) อาการรอบต่ำไม่มีแรงจะทำให้เราต้องขับแบบคอยเลี้ยงคันเร่งไว้ที่รอบสูงๆ และในจังหวะที่ต้องกดคันเร่งก็จะต้องรีบกด และก็ต้องรีบเบรคด้วย (เพราะกว่าเรี่ยวแรงจะมาจะใช้เวลานาน พอแรงมาคันหน้าเบรคจะจอดแล้ว)

ผมแก้ปัญหานี้ด้วยการออกแบบท่อที่ทำการบีบและขยายรูท่อได้แบบแปรผัน ขณะที่ออกแบบก็คิดว่ามันต้องได้ผล (เพราะเคยมีประสบการณ์เรื่องท่อไอเสียมาพอสมควร รู้ว่าถ้าท่อโล่งช่วงรอบต่ำจะไม่ดี/ไม่ว่าเครื่องเบนซินหรือดีเซลเทอร์โบ) ออกแบบเสร็จก็ไปจ้างร้านทำขึ้นมา แล้วจึงไปจ้างร้านท่อไอเสียทำการติดตั้ง

ติดตั้งเสร็จลองวิ่งใช้งานดู สัมผัสแรกก็โอเคเลยครับ เรี่ยวแรงขึ้นมาในระดับที่น่าพอใจเลย จากที่ว่ารอบต่ำแย่มาก ก็กลายเป็นรอบต่ำที่ไหลๆ


ต่อมาซื้อ mazda 2 1.5 MT ป้ายแดงมาก็เจอปัญหารอบต่ำไม่ดีอีก เวลาออกตัวช้าๆ เคยกระตุกดับบ่อยครั้ง เวลาขับคลานขึ้นเนินนี่ต้องระมัดระวังให้ดีอย่าเผลอ


ปัจจุบันมาใช้ captiva 2.0 awd (2.0 diesel turbo) คันนี้ก็คล้ายๆกับ mazda 2 1.5 MT ถึงแม้ว่าจะเป็นเกียร์ AT ไม่ต้องยุ่งกับดลัชก็ขับลำบากในรอบต่ำเช่นกัน  กดคันเร่งไปแล้วแต่รถไม่ได้มีอาการพุ่งทันทีตามเท้า ทำให้เวลาขับตามๆ กันในเมืองค่อนข้างคอนโทรลลำบาก ปัจจุบันใส่ท่อ VCE อยู่เวลาจะออกตัวจากเดิมที่ต้องไปกดคันเร่งจึงจะเริ่มเคลื่อนตัวก็ทำเพียงคลายการกดแป้นเบรคเล็กน้อยรถก็เริ่มเคลื่อนตัวแล้ว


นั่นเป็นเรื่องของประวัติความเป็นมาและเป็นไปของท่อ VCE


ตามประสาของคนที่ชอบคิดโน่นคิดนี่อยู่ตลอด ในช่วงที่ผ่านมาราวๆปีหรือสองปีที่ผ่านมานี้ผมได้คิดโปรเจคอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองความชอบของผมเองซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับท่านทั้งหลายก็ได้ เนื่องจากผมเป็นคนชอบฟังเพลงกับชุดเครื่องเสียงภายในบ้าน ตามประสาของผมอะไรที่ผมทำเองได้ก็จะทำมันครับ (เครื่องเล่น CD ปรีแอมป์ แอมป์ หรือ อินติเกรเต็ดแอมป์ผมจะซื้อเครื่องสำเร็จมาครับแต่ตู้ลำโพงผมจะทำเอง)

ลืมบอกท่านไป อาชีพดั้งเดิมของผมคือนักทดสอบเครื่องเสียงครับ ทำงานครั้งแรกที่ Hi-FI STEREO  ในฉายา ลักษณ์พิจารณ์ (คุณพิพัฒน์ คคะนาทตั้งให้) และชื่อจริง
พิชลักษณ์ และถัดจากนั้นทำฟิแลนซ์อยู่ในเครือของ WHAT HIFI และมีบางบทความที่ STREO และฯลฯ สุดท้ายไปประจำอยู่ที่ GM2000 อยู่พักใหญ่ๆ ในชื่อ พิชลักษณ์-เสริมชัย สุดท้ายก็ลาออกไปครับ


รวบรัดสั้นๆ คือเคยมีอาชีพคลุกคลีอยู่กับเครื่องเสียงและลำโพงมาหลายปี ลืมบอกไปอีกนิด สมัยที่ทำงานทดสอบเครื่องเสียงและลำโพง ลำโพงที่ใช้เป็น reference ผมก็ทำมาใช้งานเองครับ เป็นแบบวางขาตั้ง ไดร์เวอร์มิดเบสขนาด 5 นิ้วเศษไดร์เวอร์เสียงแหลมขนาด 3/4 นิ้ว (สแกนสปีคทั้งคู่) ตู้ออกแบบเป็นแบบ time alighment ครอสส์ใช้แบบ 1th order มีท่อระบายหลังตู้ ที่บ้านก็ทำเป็นตู้ลำโพงวางพื้น ไดร์เวอร์ 8 นิ้วสองทาง วางไดร์เวอร์แบบ time alighment และ ครอสส์ก็แบบ first order เช่นกัน


ปัจจุบันลำโพงวางพื้นยังอยู่แต่ใช้งานไม่ได้เพราะผมทำไดร์เวอร์เสียงแหลมข้างหนึ่งชำรุด (ทำหล่นลงพื้น) ส่วนลำโพงวางขาตั้งผมเอาไปวางไว้ไหนแล้วก็ไม่รู้ครับ นอกจากนั้นผมยังมีลำโพงวางขาตั้งขนาดเล็กๆ ใช้ไดร์เวอร์ 4 นิ้วอยู่อีกคู่หนึ่งครับ ทีนี้ไอ้เจ้าตัวเล็กนี่เนื่องจากขนาดที่เล็กของมันก็เลยจะหวังเอาเบสลึกๆจากมันก็ไม่ได้ เลยเป็นที่มาให้ผมได้คิดโปรเจคที่จะทำลำโพงวางขาตั้งที่ให้เบสที่ลึกกว่านั้นขึ้นมา


ก่อนจะทำโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดขึ้นมา ผมได้วางเค้าโครงไว้คร่าวๆก่อนแล้วว่า ต้องเลือกใช้ไดร์เวอร์ที่ชั้นดีหน่อยแล้วทำการอัพเกรดมันขึ้นไป ออกแบบตู้ให้เป็นแบบ time alighment และออกแบบครอสส์แบบ 1 th order เช่นเดิม และอุปกรณ์ทุกชิ้นตรวจสอบทิศทาง (โดยการฟัง) ทั้งหมดก่อนติดตั้ง เพื่อให้ประกอบเข้าไปแบบถูกทิศถูกทางทั้งหมด ไม่มีการละเลยหรือประมาทในจุดใด

ในช่วงแรกมีเพียงไดร์เวอร์เท่านั้นที่อัพเกรดขึ้นไปอย่างเต็มที่ (เพราะลงมือ modify เองเลยครับ) อุปกรณ์อื่นๆ เช่น inductor , capacitor, resistor ยังใช้อุปกรณ์ระดับมาตรฐานทั่วไปก่อน (ค่อยอัพเกรดภายหลัง ซึ่งทำได้ไม่ยาก) การออกแบบครอสปัจจุบันง่ายมากค้นจากอินเตอร์เน็ตได้ เพียงแต่คุณต้องมี DATS เพื่อใช้วัดค่า TS parameter
ที่แท้จริงของไดร์เวอร์ก่อนครับ เพราะค่าที่ให้มาจากโรงงานส่วนใหญ่จะคลาดเคลื่อนครับ แล้วก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญใช้ในการตรวจสอบระหว่างที่กำลังทำการ modify ไดร์เวอร์ครับ การออกแบบตู้ปัจจุบันก็สะดวกแล้วค้นจากอินเตอร์เน็ตเช่นกันครับ แต่สุดท้ายก็ต้องใช้การฟังในการเลือกขนาดตู้ที่ลงตัวที่สุดครับ การออกแบบครอสส์ก็เช่นกัน สุดท้ายก็จบที่การฟังครับ ขั้นตอนเหล่านี้จะใช้เวลามากครับ (นานช้าขึ้นอยู่กับเวลาในการเบิร์นด้วยและการแก้ปัญหาและประสบการณ์ของผู้ออกแบบด้วยครับ)

ปัจจุบันโปรเจคลำโพงวางขาตั้งตัวล่าสุดอยู่ในระหว่างการฟังทดสอบครับ ผ่านขั้นตอนครอสส์และการแมทช์ตู้ไปแล้ว (ไดร์เวอร์เสียงแหลมยังไม่ได้ modify แต่จากการทดสอบเสียงก็อยู่ในระดับมาตรฐานชั้นดี แต่สุดท้ายก็คงต้อง modify มันครับ เพราะตอนที่ทดสอบเปรียบเทียบวัดค่า THD (ทอร์ทอลฮาร์มอนิคดิสทอชั่น หรือ ความเพี้ยนทางความถี่คู่ควบโดยรวม) ช่วงความถี่ใกล้จุดตัดจะมีความเพี้ยนสูงกว่าไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ได้ทำการ modify ไปแล้วพอสมควรครับ และด้วยเสียงฉาบที่สะอาดชัดเจนและพริ้วอย่างเหนือชั้นกว่าของตัวโดมที่ผมใช้ reference อยู่ที่ดีกว่าอย่างชัดเจนนั้นทำให้สุดท้ายผมต้องทำการ modify มันครับ.



คราวต่อไปผมจะเอาผลการวัดทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง dome tweeter ทั้งสองครับ (ไดร์เวอร์พื้นๆ ที่ modify แล้ว กับ ไดร์เวอร์เดิมๆ โรงงานชั้นดี) และคราวต่อไป before vs after modify dome tweeter ครับ


บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1456 เมื่อ: 13 กันยายน 2019, 19:12:54 »




@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

พระพุทธเจ้าท่านก็คือพระพุทธเจ้าครับ มิอาจที่จะเปรียบเทียบกับใครได้ ถือว่าสูงที่สุดแล้วครับ

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 ตามที่ได้บอกกล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าจะนำกราฟเปรียบเทียบให้เห็นว่า เมื่อได้ทำการโมดิฟายส์ ทวีคหรือปรับปรุงสมรรถนะตัวลำโพง (ไม่ว่าโดมทวีตเตอร์ หรือ วูฟเฟอร์) ผลที่ได้รับนอกจากผลตอบสนองความถี่ที่ราบเรียบกว่า ความเพี้ยนหรือ THD (Total harmonic distortion) ยังน้อยกว่าด้วย ซึ่งในวันนี้ก็จะนำผลการวัดมาให้ท่านดูระหว่างโดมทวีตเตอร์ระดับพื้นๆที่ modify แล้วกับโดมทวีตเตอร์ชั้นดี ว่าสามารถให้ THD ได้น้อยกว่าโดมทวีตเตอร์ชั้นดีได้จริงและได้มากน่าพอใจทีเดียวครับ

แต่ก่อนอื่น ขอแสดงภาพ Noise floor ห้องที่ทำการวัดโดมทวีตเตอร์ชั้นดีนั้นก่อน ที่ขณะทำการวัดได้เปิดแอร์ด้วย :7j’กราฟของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify จะทำการวัดที่ห้องนี้ (ให้ข้อสังเกตว่า กราฟน้อยส์ฟลอร์หรือเสียงแบคกราวน์ที่เป็นพื้นเสียงจะมีโด่งแหลมขึ้นไปพอสมควรที่บริเวณมากกว่า 10KHz เล็กน้อย/เกิดจากการทำงานของแอร์/ และช่วงก่อน 20KHz ก็จะมีโด่งขึ้นไปด้วยเล็กน้อย ดังนั้น เวลาดูกราฟ THD ของโดมทวีตเตอร์ชั้นดี (TW 30A) นั้น (ขอเรียกว่าทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify ก็แล้วกัน) ที่จุดความถี่ดังกล่าวที่มีโด่งขึ้นมาลักษณะเดียวกันก็จะไม่เกี่ยวกับตัวทวีตเตอร์ครับ เพราะไมค์ที่จับเสียงในขณะนั้นจับว่าเสียงมีโด่งลักษณะนั้นอยู่ก่อนแล้ว)


ต่อไป Noise floor ห้องชั้นล่างน้อยส์ฟลอค่อนข้างราบเรียบแต่มีโด่งสูงที่ช่วงความถี่แถวๆ 20KHz ซึ่งโดมเรพเฟอร์เรนจ์ที่นำมาเปรียบเทียบที่ได้ทำการโมดิฟายล์ไปแล้ว (ขอเรียกว่า Modify tweeter ก็แล้วกันครับ) เช่นกันกราฟของโดม Modify tweeter ดังกล่าวที่เห็นโด่งแหลมที่แถวๆ 20KHz ก็เป็นการโด่งของน้อยส์ฟลอร์อยู่ก่อนแล้วเช่นกันครับ



ขอเริ่มที่ความถี่ 2000Hz (หรือ 2KHzนั่นเอง) ข้ามช่วง 4-5KHz ไปเพราะความแรงของเสียงความถี่หลักขณะทำการวัดค่าช่วงนั้นความดังของเสียงต่างกันมากไปครับ ขอนำมาเปรียบเทียบตั้งแต่ความถี่ 2KHz ไปจนถึง 7KHz ครับ

Modify tweeter 2KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 2KHz THD


Modify tweeter 3KHz THD


ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 3KHz THD


Modify tweeter 6KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 6KHz THD



Modify tweeter 7KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 7KHz THD


ท่านลองสังเกตดีๆจะเห็นว่า โดมทวีตเตอร์ที่ทำการ modify จะให้ THD น้อยกว่า (และลด harmonic ที่เป็นเลขคี่/ ในที่นี้ก็คือ 3และ 5th harmonic/ ซึ่งเมื่อฮาร์โมนิคคู่เด่นกว่าฮาร์โมนิคคี่/ในที่นี้ฮาร์โมนิคคู่ก็คือ 2 และ 4th harmonic เสียงก็จะฟังดูแห้งหรือบอบบางน้อยกว่าและฟังดูใกล้เคียงกับเสียงเครื่องคนตรีในธรรมชาติมากกว่าครับ)

ยกตัวอย่าง
  
กราฟ THD ความถี่หลักที่ 6KHz  ก็ให้พิจารณาที่ 2th harmonic ของความถี่ 6KHz (6000x2=12000Hz)คือความถี่ 12KHz กับ 3th harmonic ของความถี่ 6KHz (6000x3=18000Hz)คือ ความถี่ 18KHz
เปรียบเทียบให้ดูระหว่างกราฟแรกของโดม modify กับกราฟถัดไปของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify
จะเห็นว่า กราฟแรกของโดม modify ค่า THD ของ 2th harmonic ของความถี่ 6KHzซึ่งก็คือที่โด่งแหลมขึ้นไปที่ 12KHz มันโด่งน้อยกว่าของโดมทวีตเตอร์ชั้นดีในกราฟที่สอง และ 3th harmonic ของความถี่ 6KHzซึ่งก็คือที่โด่งแหลมขึ้นไปที่ 18KHz ก็โด่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกันกราฟที่สอง ครับ

Modify tweeter 6KHz THD

ทวีตเตอร์ชั้นดีก่อน modify 6KHz

นี่คือ modify แล้ว THD ดีกว่ามากจริงๆ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กันยายน 2019, 10:49:28 โดย phorn » บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1457 เมื่อ: 21 กันยายน 2019, 20:29:37 »



วันนี้วันพระครับ

ท่อ VCE คือท่อที่ภายในมีวาวล์ขนาดใหญ่ที่หรี่ขนาดรูท่อได้และขยายรูท่อได้ตามแรงดันรอบเครื่อง ทำให้เครื่องยนต์มีแรงบิดที่รอบต่ำและรอบกลางดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าท่านต้องการให้รถของท่านมีแรงบิดเพิ่มที่รอบต่ำและรอบกลาง (รอบสูงพอๆกับของเดิม) ท่านไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากติดตั้งท่อไอเสีย VCE เพิ่มเข้าไปที่ช่วงก่อนหรือหลังพักกลางรถของท่าน สนใจติดต่อ โทร 0851423903 หรือติดต่อทางไลน์ โดยค้นหาด้วยเบอร์โทร 851423903 (ไม่ต้องพิมพ์เลข 0)

ถ้าท่านต้องการแรงบิดช่วงรอบสูง (รอบต่ำไม่สามารถช่วยได้) ท่านหันไปทางติดเฮดเดอร์เลยครับ (ถ้าท่านต้องการแรงบิดรอบต่ำแต่ท่านไปติดเฮดเดอร์ก็เสียใจด้วยครับท่านไปผิดทาง)

ถ้ารถท่านเป็นดีเซลคอมมอลเรลเทอร์โบท่านอยากได้แรงบิดรอบกลางและรอบสูงบางท่านก็ไปจูนกล่องจูนเพิ่มบูสท์และจูนเพิ่มแรงดันปั๊มได้แต่ท่านต้องระมัดระวังในการทำท่านต้องศึกษาก่อนติดตั้งนะครับ กรณีนี้ท่านไม่สามารถจูนแรงบิดเพิ่มที่รอบต่ำมากๆได้ (นึกไม่ออกว่าท่านจะจูนบูสท์เพิ่มที่รอบเครื่องใกล้ๆรอบเดินเบาได้อย่างไร) ท่านจะจูนเพิ่มแรงดันปั๊มที่ใกล้รอบเดินเบาก็ไม่ได้เครื่องเขก (มีหลายท่านแล้วที่จูนกล่องหรือโมดิฟายล์เครื่องมาด้วยวิธีต่างๆ แล้วก็ยังต้องมาติดตั้งเพิ่มท่อ VCE ครับ เพราะหน้าที่ของท่อ VCE มันทำงานตรงจุดที่ต้องการพอดี คือ เพิ่มแรงบิดช่วงรอบต่ำและรอบกลางโดยรอบสูงไม่ด้อยลง

///////////////////////////////////////////////
 
ต่อไปมาเล่าเรื่องโมดิฟายล์ดอกลำโพงกันต่อครับ จากที่ได้สัญญาไว้ก่อนหน้านั้นว่าต่อไปจะนำรายละเอียดเปรียบเทียบระหว่าง THD หรือ ความเพี้ยนของเสียง ที่ว่าก่อนทำการโมฯ และหลังการโมฯแล้ว ความเพี้ยนลดลงไปแค่ไหนอย่างไร
แต่พอไปค้นดูไฟล์ภาพที่เก็บไว้ก็พบว่าโดมทวีตเตอร์โนเนมที่โมฯ แล้วตัวที่เทียบกับ TW30A ผมหาไฟล์ภาพก่อนการโมฯไม่เจอ แต่ก็ไปเจอไฟล์ของโดมทวีตเตอร์โนเนมอีกตัว (ซึ่งเป็นดอกที่คุณภาพจะแย่กว่า) มีภาพ before (ก่อน) โมฯ (modify) และหลัง (after)ที่ทำการโมฯ
จึงขอนำภาพ before vs after modify มาให้ท่านชมกันก็แล้วกันนะครับ

เริ่มด้วย before หรือก่อนโมฯ สลับกับหลังโมฯหรือ after ที่ป้อนความถี่เดียวกัน

โดมโนเนม before ความถี่ที่ป้อน 3Khz


โดมโนเนม after โมฯแล้ว ความถี่ 3KHz


จะเห็นได้ว่าเมื่อโมฯแล้วความเพี้ยนลดลงทั้งฮาร์โมนิคคู่และฮาร์โมนิคคี่ ในที่นี้ ฮาร์โมนิคคู่ของความถี่ 3KHz คือ 6KHz และ 12KHz  ฮาร์โมนิคคี่คือ 9KHz และ 15KHz ขอให้ท่านดูความสูงของยอดแหลมของความถี่หลัก คือ 3KHz เทียบกับความสูงของความถี่ฮาร์โมนิค จะเห็นได้ว่าก่อนโมฯ ความสูงของความถี่ที่เป็นฮาร์โมนิคของ 3KHz จะมีความสูงที่ใกล้ๆกับความถี่หลัก (ความถี่หลัก 3KHz) และ after หรือภายหลังโมฯแล้ว ความถี่ฮาร์โมนิคได้ลดลงจริงๆ ซึ่งดอกลำโพงไม่ว่าดอกเสียงแหลม (Tweeter) หรือดอกเสียงทุ้มและกลาง (Mid-woofer) ที่มีความเพี้ยนยิ่งน้อยมากเท่าไหร่ก็นับว่ายิ่งมีคุณภาพสูงมากเท่านั้น
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1458 เมื่อ: 28 กันยายน 2019, 17:42:43 »





แรม 15 ค่ำเดือนสิบ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1459 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2019, 15:38:22 »

วันนี้วันพระครับ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1460 เมื่อ: 13 ตุลาคม 2019, 21:48:55 »

วันนี้ตรงกับวันออกพรรษา



และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตในหลวง ร.9
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1461 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2019, 16:06:13 »

วันนี้วันพระครับ




////////______




สนใจท่อ VCE โทร 0851423903 ครับ


หรือ ทางไลน์โดยค้นด้วยเบอร์โทร.      851423903



//////_____



มาพูดถึงความคืบหน้าเรื่องลำโพงต่อครับ

หลังจากเบิร์น tweeter ไปพักใหญ่ๆ. เสียงก็พริ้วมากขึ้น น้ำหนักเสียงช่วงที่ต่อกับเสียงกลางสูงดีขึ้น และเสียงแหลมปลายๆก็มีเนื้อดีขึ้นด้วย (ทวีตเตอร์รุ่นนี้ให้ปลายเสียงที่คมใสเด่นชัดมาก) TW030WA นี่เดิมๆก็จัดว่าให้เสียงได้ใสสะอาดดีเยี่ยมอยู่แล้วก็ดีขึ้นครับ (อย่างไรก็ตามผมก็อยากได้ความอิ่มเนียนและความเป็นธรรมชาติของเนื้อเสียงหรือ timbre ที่ถูกต้องและมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพิ่มมากกว่านี้อีกหน่อย) ซึ่งถ้าไม่ลงทุนโมฯเองก็ต้องเปลี่ยนทวีตเตอร์เป็นตัวอื่นที่สามารถให้คุณสมบัติเช่นนั้นได้ ซึ่งถ้าหาใหม่ก็ติดที่เรื่องราคาค่าตัวที่สูงกว่า TW030WA หลายเท่า (ระดับราคาต่อคู่ 3-50000 มั้งครับต่อค่าตัวทวีตเตอร์ 1คู่)
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1462 เมื่อ: 23 ตุลาคม 2019, 19:47:28 »

วันนี้ตรงกับวันปิยมหาราชครับ




////_____







ขอให้ท่านยึดมั่นในการทำความดีต่อไปเรื่อยๆ นะครับ (เพราะถ้าท่านไม่ทำเช่นนั้นก็เท่ากับเพิ่มคนไม่ดี/หรือคนบ้า/เข้าไปในสังคมเพิ่มขึ้นอีกคน)


การคิดดีทำดีง่ายๆเลยก็ยึดมั่นในศีลห้านะครับ และต้องสำนึกในบุญคุณของผู้มีพระคุณครับ


/ จากการสังเกต คนเรามีอยู่สองแบบครับ คือ พวกที่หนึ่งมีแนวคิดหรือมุมมองโดยคิดตัวเองเป็นศูนย์กลาง. จะคิดโดยมองจากตนเองออกไป จะคิดว่าตนเองได้อะไร และต้องได้ ต้องได้ก่อน ต้องได้มากที่สุด ตนเองสำคัญมากที่สุด นับถือเงินว่าสำคัญที่สุด ไม่คิดถึงความดี จิตใจมีแต่อิจฉา ริษยา กลั่นแกล้ง ขัดแข้งขัดขา ขัดคอ ชอบแก่งแย่ง ไม่ชอบใช้เหตุผลไม่ชอบใช้ความคิดชอบใช้อารมณ์เป็นใหญ่ ชอบด่าทอ


พวกที่สอง คิดจากมุมมองของสังคมรอบตัว (ตรงข้ามกับพวกที่หนึ่ง) คิดถึงคนอื่นด้วย โดยคิดว่าใครควรมีสิทธิ์ได้ก่อน (ไม่ใช่ตัวเราต้องก่อนเสมอ) เผื่อแผ่คนอื่น ให้ความเคารพนับถือกันที่ความดีไม่ใช่ที่ฐานะ และเคารพนับถือผู้มีพระคุณ ยึดถือความถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา มีความยินดีในความสำเร็จของคนอื่น ชื่นชมที่คนอื่นเป็นคนดี สนับสนุนให้คนอื่นได้ดี ชอบแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์









บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1463 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2019, 21:53:12 »




/////_____

คุณจะเชื่ออะไรโปรดอย่าใช้อารมณ์ความรู้สึก แต่จงใช้ความคิดพิจารณา พิจารณาเหตุผลที่เป็นวิทยาศาตร์ เมื่อทราบเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์แล้วก็ไม่ไขว้เขว โลเลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ท่อไอเสีย VCE ก็เป็นผลพวงของวิทยาศาสตร์ (ลอง serch คำว่า back pressure ดูซิครับ ) เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ทั้งที่ใช้เชื้อเพลิง เบนซิน LPG NGV และดีเซล มีเทอร์โบหรือไม่มีเทอร์โบ) ในรอบเครื่องที่ต่ำๆ (ประมาณต่ำกว่า 2000 รอบ/โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 1500 รอบลงมา) back pressure ทำให้เครื่องยนต์มีแรงบิดหรือ ทอร์ค เพิ่มขึ้น แต่รอบเครื่องที่สูงๆ เครื่องยนต์ไม่ต้องการ back pressure

ตัวอย่างต่อไปนี้ ที่ตอบโจทย์ได้อย่างดี (ถ้าท่านเป็นคนที่ไม่ค่อยประสีประสาเรื่องเครื่องยนต์แต่ท่านเป็นคนช่างสังเกตและคิดหาเหตุผลอยู่เสมอๆท่านคงจะเคยคิดถึงเรื่องต่อไปนี้) เรื่องที่ตอบโจทย์ว่าเครื่องยนต์ไม่ต้องการ back pressure ที่รอบเครื่องสูงๆ ก็เช่น รถแข่ง ท่านจะเห็นว่ารถแข่งจะออกแบบให้ท่อไอเสียมีขนาดใหญ่โล่งและความยาวท่อที่สั้นๆ (ในขณะที่รถที่ใช้งานทั่วไปเขาจะไม่ได้ออกแบบมาแบบนั้น) เพราะเวลาออกตัวจากจุดสตาร์ทเขาจะใช้รอบเครื่องที่สูงและขณะที่รถวิ่งไปแล้วจะแช่รอบเครื่องอยู่ที่แถวๆรอบเครื่องสูงๆ เป็นส่วนใหญ่


ทีนี้มามองรถทั่วๆไปที่เป็นรถยนต์ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันซึ่งจะเห็นว่า ไม่ได้ใช้งานอยู่ที่รอบเครื่องสูงมากๆตลอดเวลา (แต่ใช้งานที่รอบต่ำและรอบกลางเป็นส่วนใหญ่สลับกับรอบสูงบ้าง) ซึ่งตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ก็เช่น ขนาดของท่อไอเสียของรถ eco car จะเห็นว่ามีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อเทียบกับพวกรถ suv หรือรถบรรทุก ดังนั้นจึงถามว่าทำไมโรงงานเขาจึงไม่ทำท่อรถ eco car ให้มีขนาดใหญ่แบบรถ suv หรือใหญ่มากๆ แบบรถบรรทุกสิบล้อหละครับ เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เรื่อง back pressure ที่ทางโรงงานผู้ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ ต้องคำนวณ ลองถ้าระบบท่อของรถใช้งานเหล่านี้เกิดขาดหรือรั่วมากๆ ดูซิ แรงบิดรอบต่ำจะหายไปเลยนะครับ



//////__


มาเรื่องลำโพงต่อครับ

ตอนนี้ หลังจากเบิร์นอินไปค่อนข้างนาน ก็รับรู้ได้ว่า TW030WA นี่ก็ไม่ธรรมดานะครับ บรรยากาศในย่านเสียงต่างๆที่ค่อนข้างน้อยไปในช่วงแรกๆก็ปรากฏขึ้นมาค่อนข้างดีทีเดียว บรรยากาศช่วงปลายเสียงที่ค่อนข้างน้อยในช่วงแรกก็น่าพอใจมาก ยังขาดความอิ่มอยู่เล็กน้อย
รายละเอียดเสียงตลอดย่านปรากฏขึ้นมาเด่นชัดเป็นที่น่าพอใจมาก ความพลิ้วไหว ซึ่งทีแรกจะค่อนข้างน้อยก็ดีขึ้นมาก

ถ้าพูดถึงผลตอบสนองความถี่ ทวีตเตอร์ (โดมเสียงแหลม) คู่นี้ให้ได้ดีมาก ปลายแหลมขยายไปได้สูงมาก ปลายเสียงไม่ตกเลย (ปลายเด่นด้วยซ้ำไป)

พูดถึงรายละเอียดเสียง บางคนไม่เข้าใจ (จะพูดว่าเข้าใจผิดก็เกรงใจครับ)

ขอยกตัวอย่างรายละเอียดทางด้านภาพก็แล้วกัน (สามารถนำมาเทียบกับรายละเอียดเสียงได้ครับ) สมมุติคุณกำลังดูทีวีอยู่ข้างหน้าคุณ แล้วมาดูกันว่าคุณเห็นอะไรในภาพ สมมุติว่าขณะนั้นเป็นภาพต้นไม้ไกลๆ บนทุ่งหญ้า และในภาพนั้นมีใบหน้าของผู้หญิงอยู่เป็นฉากหน้าสุด ซึ่งเมื่อคะเนจากใบหน้าของผู้หญิงในภาพ สมองคุณจะประมวลผลว่าเหมือนคุณอยู่ห่างจากเธอประมาณ 1 เมตร (ตัวคุณอยู่ห่างจากหน้าจอภาพที่เหมาะสมไม่ใกล้และไกลจากหน้าจอจนเกินไป) แล้วทีนี้มาพิจารณากันว่าถ้าในภาพชีวิตจริงไม่ใช่ภาพในจอทีวี คุณเห็นอะไรบนใบหน้าของเธอบ้างในระยะ 1 เมตร คำตอบคือ คุณสามารถจะมองเห็นรายละเอียดต่างๆบนใบหน้าของเธอได้มากมายใช่ไหม นั่นหละครับคือรายละเอียดภาพ แล้วในทีวีคุณเห็นรายละเอียดต่างๆ เหล่านั้นหรือไม่ มากน้อยแค่ไหนหละ นั่นละครับรายละเอียดภาพที่ทีวีเครื่องนั้นสามารถให้ได้กับแหล่งโปรแกรมนั้น

พูดมาถึงตรงนี้นึกขึ้นได้สมัยตอนที่ผมเป็นนักทดสอบโปรเจคเตอร์ (เครื่องฉายภาพในห้องโฮมเธียเตอร์) ทำให้ผมนึกได้ว่า ถ้าท่านมีและกำลังใช้งานโปรเจคเตอร์อยู่ที่ห้องโฮมเธียเตอร์ของท่าน ท่านก็จะรู้ดีในเรื่องประเด็นนี้ เพราะท่านได้สัมผัสมาด้วยตาของตัวท่านเอง ท่านจะรู้ดีว่าด้านรายละเอียดภาพ โปรเจคเตอร์สามารถให้ได้ดีกว่าทีวี (กำลังจะบอกท่านว่าภาพจากโปรเจคเตอร์ให้ความโปร่งใส โปร่งทะลุของภาพที่เหนือกว่าทีวีไปอีกระดับ เพราะเมื่อภาพสามารถแสดงรายละเอียดภาพได้ดีขึ้น ก็เหมือนลดเมฆหมอกที่เคยปกคลุมภาพออกไปครับ)

ทีนี้ท่านก็จะเข้าใจแล้วว่ารายละเอียดภาพที่ผมพูดถึงนี้หมายถึงอะไร ดังนั้นรายละเอียดภาพจึงไม่ใช่หมายถึงท่านเร่ง sharpness ให้ขอบภาพเป็นเส้นคมขึ้นมา แต่มันคือ รายละเอียดต่างๆในธรรมชาติที่มีอยู่ของภาพครับ


ทีนี้ รายละเอียดภาพที่ผมพูดนี้ก็เทียบได้กับรายละเอียดเสียงครับ ซึ่งจะไม่ใช่เกิดขึ้นโดยการที่ท่านไปเร่ง Treble หรือเร่งเสียงขึ้นมานะครับ (หรือเกิดจากการที่ท่านไปทำด้วยวิธีใดก็ตามที่ทำให้เสียงชิ้นดนตรีคมในลักษณะขึ้นขอบขึ้นมานะครับ นั่นคนละความหมายกัน) ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1464 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2019, 19:52:34 »

วันนี้วันพระ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1465 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2019, 18:26:35 »




BBBBBB

ท่อไอเสีย VCE คือท่อไอเสียที่มีลิ้นปรับขนาดรูท่ออยู่ภายใน รอบต่ำจะหรี่รูท่อให้เล็กลง รอบสูงขึ้นขยายรูท่อให้เพิ่มขึ้น รอบสูงขยายรูท่อเต็มที่ รอบสูงจึงไม่อั้นแต่รอบต่ำและรอบกลางได้แรงบิดเพิ่มขึ้น ใช้งานโดยการติดตั้งเพิ่ม บริเวณก่อนหรือหลังพักกลาง หน้าหม้อปลายหรือหลังหม้อปลาย โดยไม่ต้องเอาแคทออก ไม่ต้องเอาพักกลางออก ไม่ต้องเอาหม้อปลายออก (ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อปลาย) ราคา 3700 บาท ค่าติดตั้ง 500 บาท ถ้าสั่งไปให้ร้านท่อที่บ้านท่านติดตั้งให้ (มีคู่มือประกอบการติดตั้ง) ค่าส่ง 100 บาท สั่งทางไลน์ ค้นไลน์ด้วย เบอร์โทร 851423903 (ไม่พิมพ์เลข 0) หรือทางโทรศัพท์ 0851423903 หรือทางอีเมล์ pcl_s@yahoo.com หรือทางหน้าเพจ https://m.facebook.com/ท่อสูตร-VCE-444515408918414/


AAAAAAA

พูดถึงเรื่องลำโพงต่อครับ


ขอเกริ่นก่อนนิดหนึ่งครับ ในชุดเครื่องเสียงชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วย สมมุติว่าใช้เครื่องเล่น CD ก็แล้วกันเป็นต้นทาง ต่อไปก็จะเป็นปรีแอมป์ต่อเข้าเพาเวอร์แอมป์ (หรือรวมกันระหว่างปรีแอมป์กับเพาเวอร์แอมป์เป็น integrated amp.) ต่อเข้าลำโพง  ถ้าแยกเป็นส่วนๆ ต้นทาง (ในที่นี้คือเครื่องเล่น CD) ปรีแอมป์ เพาเวอร์แอมป์ และ ลำโพง ถ้าคุณจะผลิตเองหรือทำเอง โดยที่ไม่มีพื้นฐานอะไรก็นับว่ายากทั้งหมดครับ ยากมากๆด้วย (ซื้อเขาดีกว่าครับ) ถึงแม้ว่าคุณจะมีความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิคส์อยู่บ้างก็ยังไม่ง่ายเลยครับ เช่น เพียงแค่คุณจะประกอบแอมป์ขึ้นมาสักตัว เอาแค่ประกอบชุดที่เขาลงปรินท์มาให้เรียบร้อยแล้วลงกล่องก็ไม่ง่ายเหมือนทำขนมครกกับปากนะครับ การ tweak การ modify ด้วยการเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ โดยใช้อุปกรณ์ที่เกรดดีขึ้น เสียงดีกว่า (ถ้าคุณเข้าใจถูกต้อง) ลงไปแทนที่อุปกรณ์เดิม ดูจะมีทางเป็นไปได้มากกว่า

แต่ ไม่ใช่ว่าจะทำเช่นนั้นแล้วจะประสบความสำเร็จในทุกๆครั้งที่ทำนะ เพราะว่าบางทีของเดิมก็มีจุดดีของมันอยู่เหมือนกัน แต่ของชิ้นใหม่ที่ใส่เข้าไปแทนที่แม้ว่าจะช่วยลดจุดด้อยลงไป แต่บางทีก็ไปลดจุดที่ดีของเดิมๆลงไปด้วย กลายเป็นได้อย่างเสียอีกอย่างไป

อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงระดับวิศวกรผู้มีความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิคส์มาทำ เครื่องเล่น CD ทำปรีฯทำแอมป์ ทำลำโพง ว่ากันว่า ทำลำโพง นั้นยากสุด ทำให้มีคุณภาพดีนะครับ ไม่ใช่แค่ให้มีเสียงออกมา ถ้าแค่ให้มีเสียงออกมา ลำโพงทำง่ายสุดครับ เพราะทำลำโพงมีอุปกรณ์ ไม่กี่อย่างครับ

ทีนี้มากล่าวกันถึงรายละเอียดการทำลำโพง

ลำโพงตู้หนึ่งๆประกอบด้วย ดอกลำโพง สายระหว่างดอกลำโพงมายังครอสส์ ภายในครอสส์จะประกอบด้วย C,L,R และสายเชื่อมระหว่างครอสส์มายังขั้วลำโพง (ขั้วลำโพงส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหลังตู้ลำโพง) จะเห็นว่ามีอุปกรณ์ไม่กี่อย่าง แต่ทำให้ดียากที่สุดเพราะอะไรจะอธิบายให้ฟังครับ

การที่ลำโพงจะเสียงดีได้ต้องประกอบด้วย ผลตอบสนองความถี่ที่ราบเรียบ  (ถ้าไม่ราบเรียบก็ไม่น่าฟัง) ผลตอบสนองความถี่ที่สมดุล ทุ้มกลางแหลมที่สมดุล (ถ้าเด่นไปทางใดทางหนึ่งก็ไม่น่าฟังเช่นกัน) เสียงที่สะอาดความเพี้ยนต่ำ (เสียงจะสะอาดได้ต้องประกอบด้วย ตัวดอกลำโพงคุณภาพสูงและ L,C,R คุณภาพสูง/อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง ซึ่ง ทั้งสองอย่างย่อมดีกว่า) การแยกชิ้นดนตรีที่ดี ละเอียดจนถึงเสียงชิ้นดนตรีที่เล็กที่สุด (ต้องออกแบบวงจรครอสส์โอเวอร์ได้ดีที่สุด) การแยกมิติเสียงตื้นลึกได้ดี (เกี่ยวพันกับ phase alignment และ time alignment) และสุดท้าย น้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ (คำว่าน้ำเสียงเป็นธรรมชาติ คือ ให้ timbre หรือเนื้อเสียงได้ถูกต้องตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อแตกรูปคลื่นเสียงดูแล้วรูปคลื่นของธรรมชาติให้รูปคลื่นเช่นไรก็ต้องให้รูปคลื่นถูกต้องเช่นนั้น ถ้าผิดแผกออกไปก็คือ timbre ที่ผิดเพี้ยนไป ตัวอย่างเช่น เสียงอัลโตแซกโซโฟนก็ให้เสียงลักษณะเฉพาะตามแบบของมัน โซปราโน่แซกฯก็ให้น้ำเสียงที่ฟังว่าคล้ายอัลโตแซกฯ แต่ก็แตกต่างกัน หรือเสียงเชลโล่หรือวิโอล่ากับไวโอลินก็ต่างกันแม้จะเป็นเครื่องสายที่สีที่โนตเดียวกัน ตัวอย่างที่กล่าวมานั้นแตกต่างกันเพราะต่างก็มี timbre ของเสียงที่ต่างกันไปตามแต่ว่าเป็นเครื่องดนตรีอะไร ซึ่ง ลำโพงที่ดีกว่าคือ สามารถให้ timbre ของแต่ละชิ้นดนตรีที่ถูกต้องมากกว่านั่นเอง)

นอกจากนั้น เนื้อเสียงตามที่กล่าวถึงไปยังแบ่งออกไปอีกสามลักษณะ คือ เนื้อเสียงที่อวบอิ่มมากๆ (ที่จริงแล้วคือเกินพอดี) กับอิ่มพอดีๆ และก็อีกแบบหนึ่งคือ เนื้อเสียงที่บอบบาง

ครับ ลำโพงที่ดีมีคุณภาพสูงต้องตอบสนองทั้งหมดที่กล่าวถึงไปได้ดีที่สุดครับ จะเห็นได้ว่าไม่ง่ายเลยครับที่จะทำลำโพงสักคู่ออกมาให้ได้คุณภาพดีที่สุด เพราะลำพังเพียงแค่เลือกดอกลำโพงคุณภาพสูง (ซึ่งค่อนข้างแน่ว่าราคาแต่ละดอกจะสูงมากระดับเหยียบหมื่นบาทหรือหลายๆหมื่น) แล้วคำนวณตู้อย่างดี (เดี๋ยวนี้ search หาทางอินเตอร์เนตได้ไม่ยากครับ) ใช้เครื่องมือไม่กี่ชิ้นประกอบการคำนวณ จากนั้นออกแบบครอสส์อย่างดี (เช่นกัน สามารถ search หาทางอินเตอร์เนตได้ไม่ยากแต่ทำให้ลงตัวที่สุดไม่ง่ายครับ) ก็ยังไม่สามารถประกันได้ว่าจะให้คุณภาพเสียงออกมาดีแน่ๆ เพราะต้องใช้การฟังการปรับจูนแก้ไขอีกมากมาย

ดูตัวอย่างลำโพงที่วางขายอยู่ได้เลยครับ โฟกัสไปที่ใช้ดอกลำโพงคุณภาพสูง จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดนั้นก็ไม่ใช่ว่าทุกคู่จะให้คุณภาพเสียงที่ดี มีตั้งแต่ ดี ดีมาก ดีมากๆ และดีปานกลาง ที่จัดว่าดีคือ ที่ค่อนข้างทำได้คือ สามารถให้น้ำเสียงที่สะอาด แต่หลายๆคู่ก็ยังไม่ผ่านด้านความราบเรียบของเสียง หรือ ที่ผ่านเรื่องความสะอาดและความราบเรียบราบรื่นของเสียงก็อาจจะไม่สามารถให้ความสมดุลของเสียงได้ดี อาจจะให้เสียงแหลมที่มากไปนิด หรือแหลมพอดีเบสแน่นแต่เบสไม่อิ่ม (เบสน้อย) หรือเบสอิ่มแต่เบสไม่แน่น

พอผ่านด่านข้างต้นไปได้ก็มาพิจารณาที่ timbre ของชิ้นดนตรีที่ลำโพงนั้นๆให้ออกมา ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดใหญ่อีกจุดหนึ่งที่จะพิพากษาว่าลำโพงคู่นั้นดีระดับไหน (การที่จะบอกได้ว่าลำโพงคู่ไหนให้ timbre เป็นเช่นไรต้องอาศัยการฟังเท่านั้น ไม่สามารถดูจากสเป็ค) จากนั้น มาพิจารณาที่การแยกชิ้นดนตรี ตรงนี้มีความแตกต่างกันมากมายที่จะแยกความสามารถของลำโพงแต่ละคู่ออกไปว่าดีมากดีน้อยแค่ไหน เพราะลำโพงหลายๆคู่พอใช้ฟังเพลงที่มีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นที่กำลังบรรเลงพร้อมๆ กัน สอดรับและประสานกัน จะไม่สามารถแยกแยะรายละเอียดที่เล็กๆน้อยๆ ที่ทับซ้อนกันนั้นได้ชัดเจนพอ (ความสามารถมีตั้งแต่ ถ้าชิ้นเล็กมากๆจะเบลอ หรือไม่เบลอแต่วูบวาบ ไปจนถึงนิ่งแต่ยังไม่ใสกระจ่างมาก และที่ดีกว่านั้นคือ ให้เสียงที่ชัดเจนแยกแยะเป็นชิ้นเป็นอันแม้จะเป็นเสียงเล็กเสียงน้อยมากๆ)


ยัง ยังไม่หมดแค่นั้นครับ เมื่อพิจารณาว่าการแยกชิ้นดนตรีเป็นเช่นไรแล้ว ก็มาถึงการแยกชั้นชิ้นดนตรี ตรงนี้ความจริงแล้วสามารถแยกกลุ่มลำโพงว่าดีมากดีน้อยแยกออกเป็นสามกลุ่มชัดๆ เลยครับว่า ระดับแรก ลำโพงที่สามารถแยกระดับชิ้นดนตรีหน้ากลางหลังได้ดี มีบรรยากาศ ระดับสอง สามารถแยกมิติหน้ากลางหลังชัดเจนมากหลุดตู้ เสียงมีบรรยากาศรอบชิ้นดนตรีแต่ในบางย่านเสียงจะมีบรรยากาศเพียงบางส่วน (ยังฟังว่าชิ้นดนตรีบางย่านยังแบนๆอยู่ยังไม่กลมกลึง) และบริเวณขอบๆเวทีรวมทั้งบริเวณแถวหลังสุดจะมีบรรยากาศไม่มาก

และระดับสาม สามารถแยกระดับเวทีเสียงหน้ากลางหลังได้ดีที่สุด นิ่งที่สุด มาพร้อมบรรยากาศรายรอบชิ้นดนตรีครบทั้งด้านหน้าสุด ขอบเวที แถวกลาง และแม้แต่บริเวณด้านหลังสุด (ลำโพงที่สามารถมาถึงจุดนี้ได้ต้องทำได้ดีครบทุกลักษณะของการประกอบลำโพงนะครับ ขาดจุดใดจุดหนึ่งไปไม่ได้ ที่ผมเห็นมาส่วนมากที่ดีๆ จะมาจบที่กลุ่มที่สองครับ /สาเหตุเพราะขาดการใส่ใจเรื่อง phase alignment และ time alignment ส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจเรื่อง phase alignment เพราะว่าถ้าใส่ใจในเรื่องนี้ก็ต้องออกแบบวงจรครอสส์ให้มีเฟสที่เบี่ยงเบนน้อยที่สุด หายากครับที่ใส่ใจมาจนถึงเรื่อง time alignment แต่ก็ใช่ว่าพอใส่ใจมาถึงตรงนี้กลับไปย่อหย่อนในเรื่องอื่นๆบางเรื่องที่สำคัญเหมือนกันเช่นเรื่องสมดุลเสียง ถ้าทำทุกอย่างดีมาครบทุกประเด็นแล้วแต่กลับให้เสียงเบสที่น้อยไปหรือเด่นย่านกลางแหลมมากไปก็จบเหมือนกันครับ/)

เห็นไหม๊ละครับว่าการจะทำลำโพงสักคู่ให้ดีที่สุดมันไม่ได้ทำได้ง่ายๆเลยครับ ต้องประกอบด้วยหลายๆส่วนจริงๆ/ พี่พร ท่อ VCE 0851423903










บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1466 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2019, 17:11:23 »

วันนี้วันพระครับ



/////////



ถ้าจะติดต่อเรื่องท่อ VCE ติดต่อทางโทรศัพท์ที่ 0851423903. หรือทางไลน์ ค้นด้วยเบอร์โทร พิมพ์ 851423903        ( ไม่ต้องพิมพ์ 0 นำหน้าครับ) แล้วพิมพ์ข้อความมาด้วยนะครับไม่ใช่แอดเข้ามาเฉยๆ



/////_____

มาว่าด้วยลำโพงต่อ

ให้ท่านสังเกตว่า ลำโพงที่คุณภาพสูงเสียงดีๆ ส่วนใหญ่จะผลิตมาจากแถบประเทศอังกฤษ หรือแถบยุโรปครับ รวมทั้ง อเมริกาและแคนาดา ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันยังคงเป็นเช่นนั้น มาดูทางด้านแถบเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นนี่นับเป็นหัวแถวของแถบนี้มาก่อน แต่ ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาที่เราจะเห็นประเทศญี่ปุ่นทำเครื่องเล่นซีดีคุณภาพสูงๆ ออกมา ทำปรีแอมป์และทำแอมป์เสียงดีๆ ออกมา แต่ไม่ค่อยมีลำโพงคุณภาพสูงออกมา มีบ้างที่ทำลำโพงคุณภาพสูงออกมาได้ ซึ่งไม่ใช่ว่าไม่มีบริษัทใดทำลำโพงคุณภาพสูงออกมา เพียงแต่พยายามทำออกมาแล้วแต่คุณภาพยังไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือ แม้แต่ในประเทศอังกฤษหรือในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่ใช่ว่าบริษัทใหญ่ๆที่มีเงินทุนมากๆ มีนักวิจัยและวิศวกรที่เก่งๆ แล้วจะสามารถทำลำโพงคุณภาพสูงออกมาได้ทุกบริษัท มันไม่ใช่ง่ายแบบ 1+1 =2 หรือ ลงทุน 10 บาทได้กำไร 1 บาท ลงทุน 100 บาทจะได้กำไร 10 บาท

ทั้งๆที่ตลอดหลายปีมานี้ วิศวกรรมด้านการทำลำโพงมีการปรับปรุงตลอด แต่ก็เป็นการปรับปรุงทางด้านวัศดุศาสตร์เสียเป็นส่วนใหญ่ ( เช่นกรวยดอกลำโพงเดิมจะเป็นกรวยกระดาษก็มีการปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงขึ้น บ้างก็เปลี่ยนไปใช้กรวยคุณภาพสูงขึ้นเป็นกรวยที่ผลิตด้วยวัศดุต่างๆตามแต่จะคิดค้นขึ้นมา) พื้นฐานเดิมทั้งการทำตัวตู้ การส่งผ่านความถี่ (ใช้วงจรครอสส์โอเวอร์) ยังใช้ความรู้พื้นฐานดั้งเดิม ซึ่งความรู้เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นที่ทราบกันทั่วไป (สืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ต) ไม่ค่อยมีศาสตร์ที่ลึกซึ้งไปมากกว่านี้ แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้ง่ายๆ อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว มีเงินทุน มีทีมวิจัยที่เก่งๆ มีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่เจ๋งๆ ก็ใช่ว่าจะสามารถทำลำโพงคุณภาพสูงออกมาได้


จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากๆ ที่ใครสักคนจะสามารถทำลำโพงคุณภาพสูงๆ ออกมา

แต่จากตัวอย่างที่เอ่ยถึงมาก่อนหน้านั้นทั้งหมดทำให้เห็นว่า การทำลำโพงคุณภาพสูงออกมา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า มีเงินทุนเยอะมีทีมวิจัยเก่งจะได้เปรียบเสมอไป (อาจจะได้เปรียบเงินทุนและทีมงานแต่ไม่ได้ประกันว่าผลสุดท้ายจะสำเร็จ) และไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผู้คร่ำหวอดมากแค่ไหน (ด้านความรู้ เนื่องจากไม่ได้ใช้ความรู้ที่ซับซ้อนมาก ความรู้ส่วนใหญ่แม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมดสามารถสืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ช่องว่างเรื่องความรู้มันแคบเข้ามา) หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญมาก (ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะได้เปรียบว่าสามารถจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหลายๆอย่างแต่ไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จเช่นกัน) บริษัทใหญ่ทีมงานที่มาก การทำงานที่ซับซ้อนอาจจะใช้ได้ผลในการทำแอมป์ ทำปรีแอมป์ ทำเครื่องเล่นซีดี แต่จะใช้ไม่ได้ผลเมื่อมาทำลำโพงคุณภาพสูง


จากการที่ผมคิดวิเคราะห์ดูแล้ว ผมเห็นว่า ควรจะเป็นนักเล่นนักฟังที่มีความสามารถและรักที่จะทำลำโพง ต้องประกอบด้วยสองอย่างนี้ ที่มีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเท่านั้นครับจึงมีโอกาสที่จะทำสำเร็จได้ (เพราะลำโพงเสียงดีๆ ไม่สามารถตัดสินใจได้จากกราฟตอบสนองความถี่ หรือ กราฟของเฟส และกราฟของความเพี้ยนแต่เพียงอย่างเดียว/มันไม่สามารถบอกความสามารถในเรื่องของเนื้อเสียง ลักษณะของอิมเมจเสียง ขนาดของเวที และความเป็นสามมิติของอิมเมจ รวมทั้งความโปร่งใสของเวทีเสียงได้ มันไม่สามารถบอกได้ด้วยกราฟต่างๆเหล่านั้นครับ)

เพราะ เมื่อประกอบลำโพงขึ้นมาแล้ว 1 คู่ นาย ก และ นาย ข สามารถจะออกแบบลำโพงของตัวเองขึ้นมาแล้วมีคุณภาพที่ดีใกล้เคียงกันได้ทั้งคู่ โอกาสมีเท่าๆกันทั้งสองคน เพราะทั้งคู่ต่างก็ใช้ดอกลำโพงคุณภาพสูงใกล้เคียงกัน ใช้ความรู้ออกแบบตู้จากแหล่งเดียวกัน ใช้อุปกรณ์ทดสอบคุณภาพสูงพอๆกัน  แต่ถ้า นาย ก หรือ นาย ข เป็นนักเล่นนักฟังที่มีความสังเกต สามารถจะฟังความแตกต่างเล็กๆน้อยๆได้ และเป็นนักคิดนักทดลอง เขาจะจับสังเกตได้ และเขารู้ว่าจะสามารถปรับปรุงลำโพงคู่นั้นๆ ให้ดีที่สุดได้อย่างไร นั่นก็จะทำให้เขาสามารถที่จะทำลำโพงที่มีคุณที่ดีกว่าได้ไม่ยาก

แน่นอนครับว่า ลำโพงที่คุณภาพสูงๆ ต้องประกอบด้วยหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ ดอกลำโพงคุณภาพสูง การเลือกใช้วงจรครอสส์โอเวอร์เน็ตเวิร์ค การเลือกใช้อุปกรณ์ในครอสส์นั้นๆ (ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอุปกรณ์คุณภาพสูง) การใส่ใจเข้มงวดทุกรายละเอียด (เช่นเรื่องทิศทางของอุปกรณ์/ไม่ใช่เพื่อความสวยงามแต่เพื่อเสียงที่ออกมาถูกต้อง) การใส่ใจเรื่อง เฟส (สัมพันธ์กับการเลือกแบบวงจรครอสส์) และ เวลา (time alighment)




เพียงไม่กี่หัวข้อที่เอ่ยถึงไปข้างบนนี้ เมื่อนำมาวิเคราะห์ลำโพง (เฉพาะคุณภาพดี) ในตลาด ส่วนใหญ่จะทำได้ไม่ครบทุกข้อ (มีน้อยมากๆ ที่มีครบทุกข้อ)ก็ยิ่งทำให้เห็นว่า เป็นการท้าทายมากที่ใครสักคนจะทำลำโพงคุณภาพสูงออกมาสักคู่นะครับ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1467 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2019, 21:18:25 »

วันนี้วันพระครับ


/////____


พูดถึงเรื่องลำโพงต่อครับ


เปลี่ยนจากวัดค่า imd มาเป็นวัดค่า hd ครับ


Hd นี้ย่อมาจาก harmonic distortion ครับ ซึ่งถ้าค่า hd น้อยลงค่า imd ก็จะน้อยลงด้วยครับ

ผมได้ทำการโมฯทวีตเตอร์เสร็จแล้วครับ ผลการวัดค่าและผลการฟังเป็นที่น่าพอใจมากครับ (โดยส่วนตัวผมว่า ผลการฟังจะชัดเจนกว่าผลการวัดครับ)

ผลการฟัง นอกจากฟังว่าความเพี้ยนลดลงมากๆ แล้ว ยังฟังว่าเสียงมีรายละเอียดพวกอินเนอร์ดีเทลดีขึ้นมากครับ (รายละเอียดเสียงเล็กๆน้อยๆต่างๆ) ได้ยินรายละเอียดเหล่านั้นครอบคลุมความถี่เป็นช่วงกว้างขึ้นมาก เสียงมีความราบรื่นต่อเนื่องกลมกลืนดีขึ้น เนื้อเสียงมีความกลมกลึง มีรายละเอียดรอบๆตัวโนตดีขึ้นมาก เนื้อเสียงอิ่มใหญ่ขึ้น (เสียงย่านกลางแหลมและเสียงแหลมทั้งหมด/ตรงนี้ครับที่ต้องการมากๆ นอกจากความสะอาดของเสียงที่ดีขึ้น) อิมเมจเสียงแยกระดับชั้นมากขึ้น มีความสะอาดระหว่างชิ้นดนตรีดีขึ้นมาก (ลดการตีรวนปนเปกัน)  มีบรรยากาศรายรอบชิ้นตรีย่านเสียงกลางแหลมและย่านปลายเสียงแหลมดีขึ้นมาก/ต้องการตรงนี้เช่นกัน/ และได้ยินรายละเอียดเสียงย่านปลายแหลมดีขึ้นครับ


อีกราวๆ วันสองวัน (ถ้าเป็นไปได้) จะลงกราฟเปรียบเทียบก่อนหลังโมฯครับ

/ พี่พร ท่อ VCE 0851423903

บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1468 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2019, 16:10:29 »





2222222222222222222222222222222222222222222


พูดถึงเรื่องลำโพงต่อ

เมื่อวันก่อนตั้งใจว่าจะลงกราฟให้ดูทันทีที่วัดค่าเสร็จ แต่ปรากฏว่าไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลลงโนตบุคได้ จะใช้วิธีถ่ายโอนข้อมูลทาง LINE ก็ไม่ได้ (โนตบุคเกิดมีปัญหาไม่สามารถเข้าไลน์ได้) เมื่อวานโอนข้อมูลจากไอแพดลงโนตบุคได้ วันนี้ก็เข้า photo shop ทำการมาร์คจุดสีขาว   เพื่อแสดงว่าเป็นฮาร์โมนิคคู่ (อันดับที่ 2,4) และจุดสีแดงคือ ฮาร์โมนิคอันดับคี่ (3,5,7) และสีดำแทนความเพี้ยนอื่นๆ ที่ modulation ขึ้นมาโดยตัวดอกลำโพงเอง

 
หลังจากฟังเสียงจากโดมทวีตเตอร์ชั้นดีคู่นี้แล้วก็ตัดสินใจโมฯเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา เสร็จแล้วทดสอบวัดค่า (ได้วัดค่า harmonic distortions ก่อนโมฯเก็บไว้ก่อนแล้ว) แล้วก็ฟังเสียง ผลทางเสียงโดดเด่นมาก เสียงสะอาดขึ้น อิ่มมีน้ำมีนวลขึ้นมากๆ ( ผลของค่า HD หรือ harmonic distortions อันดับคู่/2,4,6,8/ที่่เด่นกว่าอันดับคี่) มีความฉ่ำหวานขึ้นมาก (ผลของค่า HD หรือ harmonic distortions อันดับคี่/3,5,7/ที่ต่ำลง ต่ำกว่าอันดับคู่ /ถ้าฮาร์โมนิคอันดับคี่เด่นกว่าฮาร์โมนิคอันดับคู่เสียงจะคมแข็ง)

และเสียงมีความชัดเจนและใสกระจ่างขึ้นมาก (คาดว่า IMD หรือ inter modulation distortions ต้องลดลงด้วยครับ) ซึ่งจากที่ผมดูจากกราฟ ความถี่ช่วงท้ายๆ เสียงแหลมระดับใกล้ๆหมื่นเฮิร์ซขึ้นไป ก็เห็นลางๆ ว่าความเพี้ยนทางด้าน imd ก็น่าจะลดลงมากพอสมควรครับ


ต่อไปก็จะแสดงกราฟเปรียบเทียบ ระหว่างก่อนโมฯ (ก่อนโมฯทวีตเตอร์ประมาณ ครึ่งชั่วโมง) และหลังโมฯเสร็จ (หลังโมฯเสร็จประมาณ ครึ่งชั่วโมง) วัดที่ระยะห่างจากโดมเท่าๆกันที่จุดเดียวกัน/ตัวแปรเหมือนกัน/ ระยะค่อนข้างใกล้




จุดสีขาว   เพื่อแสดงว่าเป็นฮาร์โมนิคคู่ (อันดับที่ 2,4) และจุดสีแดงคือ ฮาร์โมนิคอันดับคี่ (3,5,7) และสีดำแทนความเพี้ยนอื่นๆ ที่ modulation ขึ้นมาโดยดอกลำโพง



TW030A ที่ 2000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)

TW030A ที่ 2000Hz after modify

โปรดสังเกตการลดลงของความเพี้ยนที่ฮาร์โมนิคอันดับคี่ 3 (สีแดง3จุด)


TW030A ที่ -3000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)

TW030A ที่ 3000Hz after modify


TW030A ที่ 4000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 4000Hz after modify

โปรดสังเกตความเพี้ยนที่ลดลง (โดยเฉพาะที่ตำแหน่งจุดสีแดง5จุด ฮาร์โมนิคอันดับที่ 5)


TW030A ที่ 5000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 5000Hz after modify

ความเพี้ยนลดลงรวมทั้งตรงจุดสีดำลดความเพี้ยนทางด้านโมดูเลชั่น ทำให้เสียงไม่ขุ่นมัว

TW030A ที่ 6000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)

TW030A ที่ 6000Hz after modify

ฮาร์โมนิคคี่ลำดับที่ 3 สีแดงสามจุดลดลงจากเดิมมาก

TW030A ที่ 7000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)

TW030A ที่ 7000Hz after modify

ความเพี้ยนฮาร์โมนิคลำดับที่ 3 (ที่จุดแดงสามจุด) ลดลงมาก

TW030A ที่ 8000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 8000Hz after modify
สังเกตว่าบริเวณที่มาร์คจุดสีดำที่เป็นความเพี้ยนของความถี่แปลกปลอมต่างๆ จะลดหายไปเลยเมื่อโมดิฟาย

TW030A ที่ 9000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 9000Hz after modify

TW030A ที่ 10000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 10000Hz after modify
ข้อสังเกต เดิมจากโรงงานจะมีความถี่แปลกปลอมรอบๆ ความถี่หลัก 10Khz ซึ่งจะทำให้เสียงช่วงความถี่นี้ไม่ใสเคลียร์เต็มที่ เมื่อโมฯแล้ว  ความถี่แปลกปลอมดังกล่าวได้หายไปเลย

TW030A ที่ 12000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 12000Hz after modify


TW030A ที่ 15000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 15000Hz after modify

TW030A ที่ 17000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 17000Hz after modify

TW030A ที่ 19000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 19000Hz after modify

TW030A ที่ 20000Hz stock (เดิมๆจากโรงงาน)
TW030A ที่ 20000Hz after modify
สรุปว่าหลังจากโมดิฟายแล้ว ความเพี้ยนลดลงทุกย่านเสียงครับ และความเพี้ยนที่ลดลงนั้น มันลดความเพี้ยนของฮาร์โมนิคอันดับคี่ได้มากกว่าความความเพี้ยนฮาร์โมนิคอันดับคู่ ซึ่ง นับว่าดีเยี่ยมเป็นสองต่อทีเดียว  เพราะ ฮาร์โมนิคลำดับคู่จะไม่แปล่งหูเท่าฮาร์โมนิคอันดับคี่  ว่าไปแล้วฮาร์โมนิคลำดับคี่ก็คล้ายๆ กับเสียงลูกคู่ที่แหลมแปล่งๆหู  แตกต่างจากฮาร์โมนิคลำดับคู่ที่ฟังดูกลมกลืนกับความถี่หลักมากกว่า แต่ไม่ว่าฮาร์โมนิคลำดับคู่หรือคี่ หากมีมากเกินไปก็จะทำให้เสียงหลักมีความชัดเจนลดลง คล้ายๆลูกคู่เสียงต่ำกับเสียงสูงที่จะไปทำให้เสียงความถี่หลักด้อยความใสลงไป / พี่พร ท่อ VCE 0851423903









 ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1469 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2019, 21:18:03 »

5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พ่อหลวง ร.9
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1470 เมื่อ: 11 ธันวาคม 2019, 20:26:02 »




/////



สนใจท่อไอเสีย VCE ติดต่อที่โทร 0851423903.  หรือ ค้นไลน์ด้วยเบอร์โทร พิมพ์ 851423903 (ไม่ต้องพิมพ์เลข 0)

พี่พร/ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1471 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2019, 16:41:23 »




ปลายปีและช่วงปีใหม่หยุดหลายวันครับ ท่านใดสนใจท่อ VCE ติดต่อเนิ่นๆครับ /0851423903


OooooooooooooooooooooooooooooooO

มาคุยเรื่องออกแบบลำโพงกันต่อครับ

ว่าด้วยเรื่อง ความเพี้ยนของดอกลำโพง กันต่ออีกครับ

ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนครับว่า ดอกลำโพงที่นำมาโมฯ ในครั้งนี้ ไม่ใช่ว่าเป็นดอกลำโพงไม่ดีนะครับ แต่ตรงข้าม มันเป็นดอกลำโพงที่ดีมากอยู่แล้ว (เมื่อเทียบกับดอกลำโพงเกรดราคาเดียวกันในท้องตลาด) เพียงแต่ว่า ดีกว่าระดับทั่วไปไม่พอครับ

ซึ่ง ดอกลำโพงจะดีมากน้อยแบ่งตามระดับราคาเหมือนกัน ถึงแม้ว่า ของเกรดราคาสูงๆ ด้วยกันก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำคุณภาพสูงตามราคาไปด้วยทุกตัวเสมอไป แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่หนีไปจากที่ควรจะเป็น คือ ของเกรดราคาสูงกว่าก็มักจะมีคุณภาพสูงขึ้นไปมากกว่าเกรดที่ราคาต่ำลงมา อย่างไรก็ตาม  คุณภาพที่ดีขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ของราคาสูงกว่าเท่าตัวจะมีคุณภาพดีขึ้นเป็นเท่าตัวนะครับ ส่วนมากจะดีขึ้นเพียงระดับหนึ่ง พอจะรู้สึกว่าดีกว่า

แต่ถ้าคุณภาพที่แตกต่างกันมาก ราคาจะถีบขึ้นไป อย่างน้อย สองถึงสามเท่าเลยนะครับ (อาจจะมากกว่านั้นด้วย)


เมื่อคุณออกแบบเนตเวิร์คลำโพงลงตัวดีแล้ว และทำการเปลี่ยนดอกลำโพงคุณภาพที่สูงกว่ามากๆ ลงไปแทนที่ดอกลำโพงเดิม (สมมุติว่าค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของดอกลำโพงตัวใหม่มีความใกล้เคียงกับตัวเก่ามาก) สิ่งที่คุณได้รับกลับมานับว่ามหาศาลมาก เกินที่จะประเมินได้จริงๆ

ผมมีประสบการณ์ในเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนดอกมิดเบส (หรือว่าดอกเสียงเบส) หรือดอกเสียงแหลม (ดอกทวีตเตอร์) ผลที่เกิดขึ้นคล้ายๆกัน แต่ ผมให้ผลลัพท์ที่ได้มาจากการเปลี่ยนดอกทวีตเตอร์จะมีผลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นสูงกว่าครับ สูงกว่ามากๆ (และให้ผลที่เกี่ยวเนื่องกับการที่เราจะรับรู้ performance หรือคุณภาพของเสียงกลาง (และแม้กระทั่งเสียงเบส) ที่ดีขึ้นด้วยครับ

ไม่ว่าคุณจะทดสอบด้วยแผ่นเพลง Brothers in arms (Dire straits) หรือ แผ่นบรรเลงกลองชุด Live to two tracks แผ่น The Sheffield Lab "Drum & Track Disc" หรือแผ่นอย่างเพลงไทย "หัวโบราณ" ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ หรือ"Oh" โอ้ เสกสรรค์ ปานประทีป ก็ให้การรับรู้ถึงผลลัพท์ได้ชัดเจนไม่แพ้กัน (เพียงแต่ The Sheffield Lab "Drum & Track Disc" จะให้ผลลัพท์ด้านต่างๆ พร่างพรูออกมาได้ต่อเนื่องและตลอดเวลาได้สูงกว่าครับ)

ในลำโพงคู่หนึ่ง เมื่อคนออกแบบ สามารถออกแบบเนตเวิร์คลำโพงได้ลงตัวดีแล้ว แน่นอนครับว่าเสียงที่ได้จะไม่มีการอับทึบ (เสียงที่อับทึบเกิดจากหลายประการทั้งการออกแบบวงจรเนตเวิร์คและคุณภาพของดอกหรือไดร์เวอร์เสียงทุ้มเสียงแหลม และรวมทั้งคุณภาพของอุปกรณ์ R,C,L และสายลำโพงฯลฯ) ไม่เพียงเท่านั้น การออกแบบเนตเวิร์คลำโพงยังครอบคลุมไปถึงการจัดการเรื่องสมดุลของเสียงกลางกับเสียงแหลมด้วย ทีนี้ อันว่าเสียงแหลมที่เราได้ยินกันนั้น (กล่าวให้มันแคบลง) สมมุติความถี่ 3000Hz หาใช่ว่าเราจะได้ยินเฉพาะความถี่สามพันเฮิร์ตนั้นเพียงอย่างเดียวนะครับ แต่เราจะได้ยินความถี่ฮาร์โมนิคของมันด้วย (ที่สร้างขึ้นมาโดยดอกเสียงแหลมเองเป็นส่วนใหญ่ และมีภาคปรีแอมป์และเพาเวอร์แอมป์ช่วยแจมมาด้วยนิดหน่อย) ความถี่ฮาร์โมนิคนี้มีทั้งฮาร์โมนิคลำดับคู่และฮาร์โมนิคลำดับคี่ (คู่ก็ลำดับ 2,4,6,8 คี่ก็ 3,5,7,9) ซึ่งฮาร์โมนิคที่เราจะกล่าวต่อไปนี้คือ ฮาร์โมนิคของความถี่ 3000Hz (หรือ 3KHz) โดย ฮาร์โมนิคลำดับคู่ของมันคือ 6000Hz (6KHz) 12000KHz(12KHz) , 18KHz ฮาร์โมนิคลำดับคี่ (ของ 3KHz) คือ 9KHz , 15KHz, 21KHz ฯ ซึ่งการน้อยลงของฮาร์โมนิคเหล่านั้นก็จะได้เสียงที่สะอาดกว่า (แต่การนัอยลงของฮาร์โมนิคดังกล่าวก็ต้องสอดคล้องกับเสียงในธรรมชาติด้วยครับ/จะกล่าวในตอนท้าย)


เวลาที่เราฟังเพลง สมมุติเป็นเสียงตีฉาบ ความถี่ของเสียงฉาบที่เราได้ยินนั้นประกอบด้วยเสียงหลายความถี่ทีเดียวโดยมีความถี่ส่วนใหญ่อยู่ในเสียงแหลม (และครอบคลุมมาที่เสียงกลางด้วย) ซึ่งความถี่ต่างๆเหล่านั้นก็จะประกอบด้วยความถี่หลักและฮาร์โมนิคของมัน โดยเสียงฉาบในธรรมชาติมันก็มีเสียงฮาร์โมนิคควบคู่มาอยู่แล้ว สมมุติ ให้เสียงความถี่ที่ 3000Hz (ซึ่งเป็นความถี่หนึ่งในเสียงฉาบดังกล่าว) ระดับเสียงมีความดังที่ 110DB มีฮาร์โมนิคลำดับคู่ที่ 6KHz สมมุติที่ 30DB ฮาร์โมนิคลำดับคี่ที่ 9KHz (สมมุติ) 15DB นี่สมมุติว่าในธรรมชาติของมันเป็นแบบนี้ ทีนี้พอฟังผ่านลำโพง สมมุติว่าดอกทวีตเตอร์ที่ดีมากๆ เติมฮาร์โมนิคคู่ที่ลำดับสองเข้าไป 10DB ทีนี้ฮาร์โมนิคอันดับสองก็เปลี่ยนเป็น 40DB และได้เติมฮาร์โมนิคอันดับคี่ (ขอยกตัวอย่างที่อันดับ 3) 5DB เป็น 20DB (สมมุติว่าปรีแอมป์กับแอมป์เติมฮาร์โมนิคคู่เข้าไป 2 DB และเติมฮาร์โมนิคอันดับสามเข้าไป 3DB) ทีนี้ฮาร์โมนิคในท้ายที่สุดก็จะเป็น ที่ 6KHz 42DB และฮาร์โมนิคลำดับที่สามเป็น 23DB

เทียบกับฟังผ่านดอกลำโพงทวีตเตอร์อีกดอกหนึ่งที่เพิ่มฮาร์โมนิคลำดับที่สอง (ของในที่นี้ที่ 3KHz) เข้าไปมากกว่าเป็น 15DB และกลับเพิ่มฮาร์โมนิคลำดับสามเข้าไปมากกว่าอีกเป็น 15DB (ฟังผ่านปรีแอมป์และแอมป์ตัวเดิมที่เพิ่มฮาร์โมนิคคู่เข้าไป 2 DB และเติมฮาร์โมนิคอันดับสามเข้าไป 3DB ) ทีนี้ฮาร์โมนิครวมที่ฟังผ่านดอกทวีตเตอร์ตัวนี้ก็จะเป็น 47DB (ฮาร์โมนิคลำดับที่สอง) และ 33DB (ฮาร์โมนิคลำดับที่สาม )

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ฟังว่าเสียงแหลม (ที่เป็นเสียงองค์ประกอบความถี่หนึ่งในเสียงฉาบ) ที่ฟังผ่านดอกทวีตเตอร์ที่ให้ความเพี้ยนสูง (ยิ่งเป็นความเพี้ยนของฮาร์โมนิคลำดับคี่ด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่) ก็จะฟังดูเป็นสากเสี้ยนมาก (ผิดจากความเป็นจริงอย่างชัดเจน/ฮาร์โมนิคลำดับคี่เน้นเสียงที่คมแห้งกระด้าง ฮาร์โมนิคคู่เน้นเสียงที่อิ่ม กลมกลึง ฉ่ำ นุ่ม) และฟังดูว่าแห้งแข็งมาก ฟังดูผอมและแบนกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะว่าหูคนเราไวต่อฮาร์โมนิคที่เป็นเลขคี่มาก และไวมากกว่าฮาร์โมนิคลำดับคู่ และฮาร์โมนิคที่เพิ่มเข้าไปนี้ถ้าหากว่าให้ฮาร์โมนิคลำดับคู่มากกว่าฮาร์โมนิคลำดับคี่ก็จะสอดคล้องกับเสียงในธรรมชาติมากกว่าด้วยครับ
/พี่พร 0851423903
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1472 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2019, 21:11:26 »





WwwwwwwwW


สำหรับท่านที่เดินทางไปต่างจังหวัด ขอให้ท่านปลอดภัยในการเดินทางนะครับ




//////////



คุยถึงเรื่องลำโพงต่อครับ



แผ่นซีดีที่เหมาะสำหรับฟังอิมเมจเสียงที่เป็นสามมิติ มีอยู่แผ่นหนึ่งที่อยากแนะนำ คือ แผ่น Janis ian "Breaking silence" ครับ แต่แผ่นซีดีที่เหมาะสำหรับฟายจูนครอสส์ของลำโพง (รวมทั้งฟายจูนตำแหน่งที่ตั้งลำโพงขั้นสุดท้าย/ความเปิดเผยของเวทีเสียงด้านหลังที่ละเอียดเป็นชั้นๆ เปิดเผยเสมอกันและเต็มที่ที่สุดทั้งสองข้าง ซ้ายขวา/) แนะนำแผ่นซีดีที่เป็นเพลงบรรเลงวงซิมโฟนี่ออร์เคสตร้าวงใหญ่ๆครับ / พี่พร 0851423903
 ขอบคุณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ธันวาคม 2019, 05:45:20 โดย phorn » บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1473 เมื่อ: 09 มกราคม 2020, 16:09:26 »




เรื่องท่อ VCE ท่านสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่ 0851423903 ครับ



เรื่องลำโพง


แผ่นซีดีที่ให้เสียงแบบสามมิติ (โฮโลแกรม) ไม่ได้มีเฉพาะแผ่นอัลบั้ม "เบรคกิ้งไซเลนซ์" ครับ มีแผ่นซีดีอีกหลายค่ายที่บันทึกเสียงได้ดี แต่ค่ายที่ผมชอบมากที่สุดคือ ค่ายเชฟฟิวแลป ครับ

และที่ผมใช้แผ่นซีดี เพลงบรรเลงจากวงซิมโฟนี่ เพื่อทดสอบเสียงที่หินที่สุด ก็เพราะว่า ถ้ามีข้อบกพร่องแม้แต่เพียงเล็กน้อย มันก็จะฟ้องออกมาอย่างโจ่งแจ้งเลยครับ (เช่นถ้ามีลักษณะกราดเกรี้ยวหยาบกร้านขึ้นมาในย่านเสียงกลางแหลมจุดใดจุดหนึ่งมันก็จะแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อเป็นเสียงสอดประสานกันของหมู่เครื่องเป่าทองเหลืองหรือในหมู่เครื่องสาย หรือ ถ้ามีความขุ่นมัว ไม่โปร่งใสเต็มที่ หรือ มีความเบลอที่ย่านความถี่ช่วงใดเราก็จะได้ยินอย่างชัดเจนในความไม่นิ่งของชิ้นดนตรี และ การไม่สามารถแยกแยะเสียงหมู่เครื่องดนตรีเหล่านั้นที่กำลังบรรเลงในลักษณะสอดประสานพันตูกันอย่างเมามันเหล่านั้นได้อย่างแจ่มชัด)

ซึ่ง ความสามารถที่ชุดเครื่องเสียงใดชุดเครื่องเสียงหนึ่งให้ออกมานั้น มันย่อมขึ้นอยู่กับขีดขั้นความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆในชุดหรือซีสเต็มนั้นๆครับ คือ ขึ้นอยู่กับว่าใช้ปรีแอมป์ แอมป์ เครื่องเล่นซีดี ลำโพง สายไฟ สายลำโพง สายสัญญาณต่างๆ มีคุณภาพระดับไหน

แต่ ถึงแม้ว่า คุณภาพของซีสเต็มนั้นๆ จะเพียงอยู่ในระดับมาตรฐานทั่วๆไปก็ตาม อย่างไรก็ตามในขณะที่คุณกำลังฟายจูนอยู่นั้น ไม่ว่าคุณกำลังกระทำกับแอมป์ หรือ ลำโพง ผลที่เกิดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คุณจะได้ยินมันทุกๆความเปลี่ยนแปลงนั้น ละเอียดยิบไปจนหยดสุดท้าย หรือ เอาเป็นว่าใกล้ๆ จะถึงหยดสุดท้ายก็แล้วกัน ถ้าคุณรู้วิธีและมีความสามารถถึงจุด จุดหนึ่ง ครับ / พี่พร 0851423903
บันทึกการเข้า
phorn
Super Senior
*****


กำลังใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,649


« ตอบ #1474 เมื่อ: 17 มกราคม 2020, 15:04:31 »

วันนี้วันพระ


สนใจท่อ VCE ติดต่อทางโทรศัพท์ 0851423903 หรือค้นไลน์ด้วยเบอร์โทรศัพท์ (พิมพ์ 851423903) ไม่ต้องพิมพ์เลขศูนย์นำหน้าครับ


/////



คุยกันเรื่องลำโพงต่อครับ



ว่ากันว่า นักเล่นเครื่องเสียงมีอยู่สองแบบครับ คือ กลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า music lover อีกกลุ่มหนึ่งก็จะเรียกตัวเองว่า audiophile

ทั้งสองกลุ่มฟังเพลงเหมือนกันแต่เสพอรรถรสในการฟังเพลงต่างกัน

ซึ่งจะว่าไปแล้ว การฟัง, การดู, การกิน มนุษย์เราก็จะมีพฤติกรรมที่มีลักษณะคล้ายๆกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้คล้ายๆกัน

ขอยกตัวอย่างในเรื่องการกิน ถ้าแยกเป็นสองกลุ่ม ก็จะมีอยู่กลุ่มหนึ่งชอบกินคำโตๆ แทบจะไม่เคี้ยวและกลืนอย่างรวดเร็ว กับอีกกลุ่มหนึ่งที่จะชอบกินแต่พอคำจะเคี้ยวจนละเอียดพอสมควรแล้วค่อยกลืน ถ้าหากถามว่าสองกลุ่มนี้อิ่มเหมือนกันไหม ก็จะได้คำตอบว่าอิ่มเหมือนๆกัน

ถ้าจะถามว่ากลุ่มแรกได้รู้รสชาดอาหารดีแค่ไหน หากไปถามคนในกลุ่มแรกเขาก็จะตอบว่าเขาก็สามารถรับรู้รสชาดอาหารได้ดีไม่แพ้กลุ่มที่สอง แต่ถ้าไปถามคนในกลุ่มที่สองเขาก็จะสามารถบรรยายได้ว่าแต่ละขณะที่เขาช้อนเข้าปาก ช่วงที่เขากำลังเคี้ยว และช่วงที่เขากลืน เขามีการรับรู้รสแต่ละช่วงเป็นอย่างไร (ซึ่งสอดคล้องกับปุ่มรับรสในตำแหน่งต่างๆ) บางคนก็สามารถบรรยายรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เกี่ยวกับการเห็นและการได้ยินขณะที่เขากำลังกินเสริมเข้าไปอีก ในขณะที่ถ้าเป็นกลุ่มแรก ไม่รู้หละ กินก็หมายถึงตักเข้าปากและกลืน


จะเห็นได้ว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีแนวทางต่างกันชัดเจน กลุ่มแรกเน้นปริมาณ (คุณภาพก็เน้นแต่เน้นปริมาณมากกว่า) กลุ่มที่สองเน้นคุณภาพต้องมาก่อนปริมาณน้อยๆก็ไม่ว่า ทีนี้ เราจะไปบังคับกลุ่มแรกให้ไปอยู่กลุ่มที่สองหรือจะบังคับกลุ่มที่สองให้ไปอยู่กลุ่มแรกก็ไม่ได้ และเราจะไปตำหนิกันก็ไม่ได้ ก็เขาชอบการกินแบบนั้น (กลุ่มที่สองจะไปตำหนิกลุ่มแรกว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีรสนิยมในการกินก็ไม่ได้เพราะมันเป็นธรรมชาติของเขาที่เป็นแบบนั้น ส่วนกลุ่มแรกจะไปตำหนิว่ากลุ่มที่สองว่าน่าเบื่อ กระแดะ หรือ ฯลฯ ก็ไม่ได้เพราะมันเป็นธรรมชาติของเขา)


ในการฟังเพลงก็เช่นกันครับ อรรถรสในการฟังเพลงสองกลุ่มนี้ต่างกันและไม่ควรจะตำหนิซึ่งกันและกัน ต่างก็เสพดนตรีด้วยกันทั้งคู่ แต่ต่างกันในรายละเอียด

อย่าลืมว่าเสียงดนตรีในธรรมชาติมันมีครบทั้งโทนัลบาลานซ์ ทิมเบอร์ของเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ที่มีฮาโมนิคต่างๆประกอบกันอยู่ มีไดนามิคคอนทราสต์ ไดนามิครวม มันมีสีสันความเพี้ยนด้วยนะ  อิมเมจชิ้นดนตรี และเวทีเสียง ฯลฯ ปรากฏขึ้นมาพร้อมกันทันทีทันใด ซึ่งกลุ่ม audiophile ก็ฟังรับมารวมๆทั้งหมด ส่วนกลุ่ม music lover ก็ฟังรับเอามาในส่วนเฉพาะที่เขาจะเสพ ก็เหมือนอาหารคุณจะตักกินไม่เคี้ยวเลยแต่รีบกลืนอย่างรวดเร็วก็ได้ หรือจะเคี้ยวก่อนแล้วค่อยกลืน (หรือจะคายทิ้งก็ได้ถ้ารสชาดมันไม่เข้าท่า) คุณสามารถทำได้ทั้งสองแบบซึ่งการรับรู้ของคุณก็เป็นสองแบบ ชอบแบบไหนทำแบบนั้นครับ / พี่พร LINE ID :phornaudio



 ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 57 58 [59] 60 61 ... 67   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: