Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /home/aethail1/domains/aethailand.com/public_html/forum/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
ความรู้เกี่ยวกับรถ
*ShoutBox
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับรถ  (อ่าน 20246 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
TON WIHARN DAENG ZONE
Senior
****


"Think, Believe, Dream, and Dare."

กำลังใจ: 288
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 824


« ตอบ #25 เมื่อ: 11 มกราคม 2010, 15:41:00 »

ตาโก๋ครับ รถกระผมไฟเตือนน้ำมัน มันติดแล้วไม่ยอมดับอ่ะครับ ( เติมไปตั้ง 1000 นึง ยังโชว์อยู่เลยอ่ะครับ )  ร้องให้ ร้องให้ ร้องให้
พอจะมีวิธีแก้ไขมั๊ยครับ รบกวนที่นะครับ  ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
น่าจะเป็นที่ชุดลูกลอยน้ำมันค้าง

แล้วจะทำให้มันหายค้างยังไงอ่ะครับ เข้าร้านซ่อมราคาประมาณเท่าไรอ่ะครับ
 ขอบคุณ ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า



E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #26 เมื่อ: 11 มกราคม 2010, 16:23:27 »

ตาโก๋ครับ รถกระผมไฟเตือนน้ำมัน มันติดแล้วไม่ยอมดับอ่ะครับ ( เติมไปตั้ง 1000 นึง ยังโชว์อยู่เลยอ่ะครับ )  ร้องให้ ร้องให้ ร้องให้
พอจะมีวิธีแก้ไขมั๊ยครับ รบกวนที่นะครับ  ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
น่าจะเป็นที่ชุดลูกลอยน้ำมันค้าง

แล้วจะทำให้มันหายค้างยังไงอ่ะครับ เข้าร้านซ่อมราคาประมาณเท่าไรอ่ะครับ
 ขอบคุณ ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณ
ลูกลอยในถังน้ำมันอ่ะ ลองถอดออกมาดูก่อน
บันทึกการเข้า
TON WIHARN DAENG ZONE
Senior
****


"Think, Believe, Dream, and Dare."

กำลังใจ: 288
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 824


« ตอบ #27 เมื่อ: 11 มกราคม 2010, 17:19:30 »

ตาโก๋ครับ รถกระผมไฟเตือนน้ำมัน มันติดแล้วไม่ยอมดับอ่ะครับ ( เติมไปตั้ง 1000 นึง ยังโชว์อยู่เลยอ่ะครับ )  ร้องให้ ร้องให้ ร้องให้
พอจะมีวิธีแก้ไขมั๊ยครับ รบกวนที่นะครับ  ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
น่าจะเป็นที่ชุดลูกลอยน้ำมันค้าง

แล้วจะทำให้มันหายค้างยังไงอ่ะครับ เข้าร้านซ่อมราคาประมาณเท่าไรอ่ะครับ
 ขอบคุณ ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณ
ลูกลอยในถังน้ำมันอ่ะ ลองถอดออกมาดูก่อน

ครับป๋ม ขอบคุณ
เด๋วจะลองดูนะครับ ขอบคุณ
ขอบคุณมากครับ +1 ขอบคุณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มกราคม 2010, 17:22:21 โดย TON WIHARN DAENG ZONE » บันทึกการเข้า



miny@SBA#07
AE Thailand Club Member
Professor
*****


@@ ไม่ได้ซุ่ม แต่สุ่มทำ @@

กำลังใจ: 515
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE-100
รหัสเครื่องยนต์: ก็แค่ 7A-FTE + LPG
อุปกรณ์แต่งรถ: แล้วแต่จะหาได้
สังกัดพื้นที่: บางกอกเหนือ - สระบุรี
ที่อยู่: ทาวร์ อิน ทาวร์ และ สระบุรี (แก่งคอย)
กระทู้: 4,432


« ตอบ #28 เมื่อ: 11 มกราคม 2010, 22:51:22 »

 สุดยอด สุดยอด สุดยอด
บันทึกการเข้า



 !! รถไม่สวยแต่รวยน้ำใจ !!
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #29 เมื่อ: 15 มกราคม 2010, 09:20:13 »

การเลือกซื้อรถยนต์มือสองไม่ใช่เรื่องง่าย ใครๆ ก็กลัวถูกหลอก แต่จะป้องกันได้อย่างไร
ถ้ายังมีความเชื่อผิดๆ กันอยู่...บทความนี้ไม่ใช่วิธีเลือกรถยนต์มือสอง
แต่จะช่วยลบล้างความเชื่อผิดๆ ได้


เต็นท์ต้องย้อมแมวเสมอ - รถบ้านต้องสภาพดีกว่า

ความเชื่อผิด :
คนส่วนใหญ่ยังเชื่อกันอยู่ว่า การซื้อรถมือสองจากผู้ประกอบการ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
เต็นท์รถมือสอง ต้องเสี่ยงต่อการย้อมแมว ต้องถูกหลอก มักเอารถเน่ามาหลอกขาย
สารพัดจะเละทั้งตัวถังห่วย ชนยับ เครื่องยนต์ช่วงล่างซ่อมแบบขอไปที มีส่วนจริงบ้างเท่านั้น
แต่ไม่ใช่ทุกเต็นท์ ส่วนรถที่ประกาศขายเองตามหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต
ตั้งกล่องจอดข้างทางประกาศขาย หรือที่เรียกกันว่า รถบ้าน
หลายคนรีบมองว่า น่าจะสภาพดีกว่ารถเต็นท์ เพราะเจ้าของใช้เอง
ขายโดยไม่มีคนกลางราคาถูกกว่า รถก็สภาพดีกว่า ไม่มีการย้อมแมว

ความเป็นจริง :
ของมือสองจะมีสภาพดีหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขายเท่าไรนัก ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและ
การใช้งานของเจ้าของเดิมและการปรับสภาพของผู้ขาย
(ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นคนเดียวกับเจ้าของเดิม)เรื่องเต็นท์ย้อมแมว มีมาตลอดและยังมีอยู่เสมอ
เพราะหลายคนทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน เน้นกำไรสูงๆ ไว้ก่อน ลูกค้ารู้ภายหลังไม่สน
แต่เต็นท์หลายแห่งในระยะหลังมานี้ ต้องการทำธุรกิจระยะยาว ไม่รับซื้อรถสภาพแย่ๆ
รถที่ขายอยู่ก็มีสภาพดี เพื่อให้ขายง่ายและสร้างชื่อเสียง ในระยะยาว เพื่อให้ลูกค้าคนเดิมวน
กลับมาซื้ออีกหรือปากต่อปากบอกเพื่อนๆ ย่อมดีกว่าย้อมแมวขายแล้วลูกค้าสาปส่ง
เรื่องนี้ต้องแล้วแต่นโยบายทางธุรกิจ

ส่วนรถบ้านนั้น มีทั้งแท้และเทียม เพราะพ่อค้ารถทราบดีว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ เชื่อมั่นว่ารถบ้านต้อง
สภาพดีราคาถูก ผู้ซื้อมักจะชะล่าใจตัดสินใจง่ายไม่ดูละเอียด จึงใช้วิธีเช่าบ้านเอารถไปจอดขาย
ทีละคันสองคัน ซึ่งก็ไม่แพงเท่าไร ค่าเช่าเดือนละไม่กี่พันบาท แล้วอาจจะอยู่อาศัยเองด้วย
หรืออาจจะใช้วิธีฝากขายกับคนที่ไว้ใจ ปลอมเป็นรถบ้าน
สังเกตได้ว่าผู้ขายจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดของรถคันนั้น อ้ำอึ้งเมื่อถูกถามลึกๆ
และที่สำคัญคือ ชื่อในสมุดทะเบียน จะไม่ใช่ผู้ขายคนนั้น

ส่วนรถบ้านแท้ๆ ขายโดยเจ้าของจริง ไม่จำเป็นว่ารถจะมีสภาพดี
เพราะเขาอาจจะดูแลรถมาไม่ดี จนเต็นท์ไม่รับซื้อหรือไม่รับเทิร์น เลยต้องมาขายเอง
เป็นเรื่องแปลกที่รถบ้านซึ่งซ่อมแบบขอไปที ไม่ถูกเรียกว่าย้อมแมว

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
ให้ความเป็นกลางในใจในเรื่องของแหล่งที่ขาย
ให้คิดว่าไม่ว่าจะซื้อที่ไหนก็มีโอกาสถูกย้อมแมวได้พอกัน จะได้ไม่ชะล่าใจ


สีสวย คือ สภาพดี อาจเพราะทำมาใหม่

ความเชื่อผิด :
ไม่แปลกที่เมื่อเห็นรถคันใดสีสวยเงางาม ไม่มีรอยเฉี่ยวชนค้างอยู่ หลายคนจะคิดไปก่อนเลยว่า
รถคันนี้สภาพดี เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็น เป็นอย่างแรก และไม่ซับซ้อนในการดู ถึงจะซ่อมสีมา
หรือพ่นใหม่ทั้งคัน แต่ถ้าทำมาเรียบร้อย ไม่เป็นคลื่นเป็นลอน อย่างน้อยก็ดูดี
และอาจทำให้ผู้ซื้อชะล่าใจ ดูส่วนอื่นไม่ละเอียด

ความเป็นจริง :
สีสวยแต่อาจเป็นเพราะซ่อมมาแล้วหรือทำมาใหม่ทั้งคัน หลังจากเกิดอุบัติเหตุ สวยเงางามไม่พอ
จำเป็นต้องดูในรายละเอียดว่า ทำไมถึงสีเนียน เป็นสีเดิมจากโรงงานจริง หรือสีพ่นใหม่ ซึ่งต้อง
เกี่ยวข้องกับอายุของรถด้วย
ถ้ารถใหม่อายุไม่เกิน 7-8 ปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของสีจากโรงงานผลิตที่พอจะทนอยู่ได้ ก็ไม่ควร
จะมีการทำสีใหม่มาทั้งคัน ถ้าเคยซ่อมสีมาแผลสองแผลพอทำใจได้ หากทำสีมาทั้งคัน
สันนิษฐานได้ 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดอุบัติเหตุหนักหรือจอดตากแดดขาดการดูแล เพราะรถ
ปีใหม่ๆ นั้นในแวดวงเขาเน้นกันว่าต้องสีเดิมโดยผู้ขายมักจะบอกเน้นมากๆ ถ้าเป็นสีเดิมทั้งคัน
เพราะจะชัดเจนว่า รถคันนั้นไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย
ส่วนรถเก่าอายุเกิน 10 ปี แน่นอนว่าต้องมีการทำสีมาใหม่ แต่ควรจะใหม่แบบเรียบร้อย
ไม่ใช่ใหม่แต่ภายนอก แต่ภายในหมกเม็ดเลอะเทอะ ทำแบบลวกๆ

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
สีเป็นเพียงเปลือกนอกเท่านั้น สวยแต่เปลือกก็มีเยอะ
ถ้าเป็นรถใหม่ สีเดิมจากโรงงานย่อมดีที่สุด
หลีกเลี่ยงการซื้อรถปีใหม่ๆ ที่ทำสีมาใหม่ทั้งคัน เพราะยังไงก็ไม่เนี้ยบไม่ทนเท่าสีโรงงาน
ส่วนรถเก่าถ้าทำสีมาใหม่ ควรสวยทั้งนอกทั้งใน ละอองสีไม่เลอะเทอะ
และอย่าลืมดูส่วนอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะไม่ใช่สีสวยแล้วตัวถังต้องดีเสมอไป


เคาะ..ป๊องๆๆ บางทั้งคัน อาจบางแค่ภายนอก

ความเชื่อผิด :
ความบางจากการเคาะด้วย มะเหงกนั้น หมายถึง ตัวถังบางมีแต่เหล็กกับเนื้อสี ไม่มีสีโป๊วทับ
เนื้อเหล็กอยู่ใต้สีชั้นนอก ถ้าเคาะแล้วบาง เสียงก้องๆ ดังป๊องๆๆๆ เสียงไม่ทึบ แสดงว่าบาง
ไม่เกิดอุบัติเหตุมา ไม่มีการชน แล้วเคาะซ่อมแล้วโป๊วสีทับ ผู้ขายบางคนรีบบอกเลยว่า
รถคันที่จะขายบางทั้งคัน ป๊องทั้งคัน เพื่อแสดงว่าไม่มีการชนหนักมาก่อน ผู้ซื้อจะได้สนใจ

ความเป็นจริง :
การเคาะด้วยหลังมือไปทั่วคันรถ สามารถตรวจสอบความบางของตัวถังด้านนอกได้ว่า
มีสีโป๊วทับหรือไม่ แต่การที่ตัวถังในส่วนที่เคาะนั้นบาง ไม่ได้หมายความว่ารถคันนั้นไม่เคยเกิด
อุบัติเหตุหนักๆ ทุกชิ้นที่อยู่ภายนอกอาจบาง ทั้งที่รถคันนั้นเคยชนเละมาแล้ว เพราะซ่อมแบบ
เปลี่ยนทั้งชิ้น เช่น เปลี่ยนประตูทั้งบาน ฝากระโปรงทั้งชิ้นหรือแม้แต่แผ่นหลังคา ถึงจะคว่ำมา
ก็เปลี่ยนหลังคาทั้งแผ่นได้ ถ้าซ่อมโดยวิธีเคาะดึงโครงสร้างข้างในแล้ว ชิ้นนอกใช้วิธีเปลี่ยนเอา
หลังมือเคาะ ยังไงก็ป๊องๆ ยังไงก็บางทั้งคัน

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
การเคาะตัวถังภาย นอกบอกไม่ได้ว่า รถคันนั้นไม่เคยชน เพราะบอกได้แค่ว่า ชิ้นนั้นไม่เคยชน
แต่ข้างในนั้นอาจชนมาเละ แล้วเปลี่ยนชิ้นใหม่ภายนอกมา อะไหล่ตัวถังทั้งแท้ เทียบ เทียม
ใหม่ เก่า มีให้เลือกเปลี่ยนอย่างสะดวก เมื่อเคาะฟังเสียงข้างนอกแล้ว ที่สำคัญคือ
ต้องดูตะเข็บ รอยเชื่อม รอยอาร์คภายในทุกจุด เท่าที่จะดูได้อย่างละเอียด ถึงจะทราบได้ว่า
รถคันนั้นเคย เกิดอุบัติเหตุหนักๆหรือไม่ การเคาะแล้วเสียงป๊องๆ เป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น
ยุคนี้ชิ้นไหนๆ ก็เปลี่ยนกันได้ในราคาไม่แพง


เลขระยะทางบนหน้าปัด อย่าเชื่อมาก

ความเข้าใจผิด :
แม้คนส่วนใหญ่จะพอทราบกันว่า เลขกิโลเมตรบนมาตรวัดระยะทางหรือเรียกกันแบบชาวบ้านว่า
ไมล์ (ทั้งที่ไม่ใช่ระยะเป็นไมล์) สำหรับการซื้อ ขายรถมือสองนั้นเชื่อถือแทบไม่ได้
เพราะสามารถหมุนเลขกลับได้ง่าย มีช่างเก่งๆรับทำให้ในราคาคันละ 500-1,000 บาทเท่านั้น
แต่ผู้ซื้อก็อดไม่ได้ที่จะดูเลขไมล์ ประกอบการตัดสินใจด้วยเสมอ ดูเลขไมล์แล้ว ก็ไม่ค่อยเชื่อ
บางคนยังไล่ไปดูร่องรอยการรื้อหน้าปัดด้วย ส่วนรถที่ใช้เลขไมล์เป็นดิจิตอล คนส่วนใหญ่คิดว่า
เปลี่ยนแปลงจากการใช้งานจริงไม่ได้ ทั้งที่บางคันอาจทำ แต่อาจจะยากกว่าแบบอนาล็อก

ความเป็นจริง :
ไม่ควรถือว่าเลขไมล์บนมาตรวัดเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจ
ควรดูสภาพส่วนอื่นที่สำคัญมากกว่าการเชื่อตัวเลขบนหน้าปัด
เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล
โดยในแบบหลังนั้น อาจจะใช้วิธีป้อนสัญญาณให้เลขวิ่งเดินหน้าจนกลับมาขึ้นรอบใหม่ก็เป็นได้

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
เลขไมล์แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ถ้าสภาพของอุปกรณ์อื่นไม่สอดคล้องกัน เช่น
เลขไมล์น้อย แต่เบาะทรุด เปื่อย ปุ่มกดต่างๆ เลอะเลือนหรือถูกกดจนเลี่ยนมนไปหมดแล้ว


รถเต็นท์ราคาแพง - รถบ้านราคาถูก

ความเชื่อผิด :
ความเชื่อนี้ไม่ผิดเท่าไรนัก เพราะรถในเต็นท์ส่วนใหญ่ มักจะมีราคาแพงกว่ารถบ้านแท้ๆ
เพราะทำธุรกิจก็ต้องมีกำไร หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพ รถเต็นท์ย่อมต้องเนี้ยบ
ส่วนรถบ้านนั้นอะไรพังนิดพังหน่อย เฉี่ยว นิดๆ หน่อยๆ แล้วยังไม่ซ่อม ก็ไม่มีใครว่า
แต่รถบ้านบางคันอาจจะตั้งราคาไว้แพง เพราะเจ้าของศึกษาราคาจากรถเต็นท์ที่ประกาศไว้
หรือแพงโอเวอร์ไปเลยก็ยังมี และคิดไปเองว่าจะขายได้ราคาตามนั้น
ทั้งที่ในเต็นท์นั้นเป็นแค่ราคาตั้ง พอซื้อจริงอาจจะลดได้อีกมากก็เป็นได้

ความเป็นจริง :
ในเต็นท์อาจแพงกว่ารถบ้าน แต่ถ้าซื้อเป็นเงินผ่อนก็สะดวกดี เพราะมีบริการหรือติดต่อแหล่ง
เงินกู้ให้ได้ หรือถ้าบางเต็นท์ร้อนเงิน หรือใช้นโยบายเงินหมุนเร็ว กำไรนิดหน่อยก็ขายดีกว่า
แช่นาน ราคาก็อาจไม่แพง

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
ตั้งเงื่อนไขในการซื้อไว้ว่า ราคาไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขาย จะซื้อที่ไหน
ขอให้สภาพดีแล้วมีราคาที่เหมาะสมกันเป็นพอ ถูกแต่สภาพไม่ดี ก็ไม่น่าสน


เต็นท์รับประกัน ซ่อมฟรี ดูแลฟรี ไม่ดีคืนเงิน

ความเชื่อผิด :
บริการหลังการขายตามโฆษณาซ่อมแบบค่าแรงฟรีเป็นระยะยาว
คิดว่าช่างจะดี บริการเยี่ยม เสียแต่ค่าอะไหล่ หรือซื้ออะไหล่เข้าไปเองได้

ความเป็นจริง :
เมื่อใช้บริการจริงกลับพบกับสารพัดปัญหา ช่างไม่เก่ง ค่าแรงฟรีจริง แต่บวกลงไปในค่าอะไหล่
จนแพงเกินจริงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ จะซื้ออะไหล่ไปให้ก็อิดออด สารพัดจะบอกปัด
เป็นเรื่องปกติครับ ขายรถมือสอง 1 คันได้กำไรไม่กี่บาทจะมาดูแลหรือซ่อมฟรีกันในระยะยาว
ได้อย่างไร แทบไม่เคยเห็นเต็นท์ไหนประกาศออกมาแล้วบริการจริงๆ ได้ดีเลย

ความเข้าใจที่ถูกต้อง :
ไม่ต้องสนใจเงื่อนไขซ่อมแบบค่าแรงฟรี ยกเว้นเรื่องการรับประกันที่บางเต็นท์มีให้ในระยะสั้น
เช่น 1 เดือนซ่อมฟรีแบบไม่มีข้อแม้ ก็ควรทำเอกสารรับประกันให้รัดกุมและชัดเจนที่สุด


การเลือกรถยนต์มือสอง แบบที่ผู้ซื้อดูอะไรไม่เป็นเลย นอกจากสีเงาๆ และทดลองขับดู
เป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก ถ้าสนใจจริงๆ ควรหาคนที่มีความรู้มากกว่า ถึงจะไม่เก่งมากแต่ก็ยังดี
และที่สำคัญคือ ลบความเชื่อผิดๆ ออกไปก่อน
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #30 เมื่อ: 17 มกราคม 2010, 21:06:51 »

ตาโก๋ครับ รถกระผมไฟเตือนน้ำมัน มันติดแล้วไม่ยอมดับอ่ะครับ ( เติมไปตั้ง 1000 นึง ยังโชว์อยู่เลยอ่ะครับ )  ร้องให้ ร้องให้ ร้องให้
พอจะมีวิธีแก้ไขมั๊ยครับ รบกวนที่นะครับ  ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
น่าจะเป็นที่ชุดลูกลอยน้ำมันค้าง

แล้วจะทำให้มันหายค้างยังไงอ่ะครับ เข้าร้านซ่อมราคาประมาณเท่าไรอ่ะครับ
 ขอบคุณ ขอบคุณมากนะครับ ขอบคุณ
ลูกลอยในถังน้ำมันอ่ะ ลองถอดออกมาดูก่อน

ครับป๋ม ขอบคุณ
เด๋วจะลองดูนะครับ ขอบคุณ
ขอบคุณมากครับ +1 ขอบคุณ
หายยัง  สาเหตุ จากอะไร
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #31 เมื่อ: 19 มกราคม 2010, 10:09:29 »

โอเวอร์ฮีท!!...ป้องกันได้
การเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้รถยนต์เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
รถเก่า หรือรถมือสอง ที่ผ่านการปรับแต่ง หรือการใช้อะไหล่ที่มีคุณภาพต่ำ เช่น
สายไฟไม่ได้มาตรฐานจนทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
ชิ้นส่วนอะไหล่มีขนาดใหญ่เกินไป
และหากผู้ขับขี่ไม่ดูแลเอาใจใส่เครื่องยนต์ ส่งผลให้ระบบหล่อเย็นไม่สามารถระบายความร้อน
ทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดหรือที่เรียกกันว่าโอเวอร์ฮีท (OVERHEATED) และเกิดเพลิงไหม้ได้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัด ดังนี้

 ก่อนขับขี่ ผู้ขับขี่ควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ
หากเป็นรถใหม่ ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ส่วนรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์

 หมั่นเติมน้ำสะอาด และถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4 - 6 เดือน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือตะกอนตกค้าง
ทำให้หม้อน้ำอุดตัน พร้อมตรวจสอบระบบต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ ดังนี้
*สายพานเครื่องยนต์ไม่หย่อน หรือตึงเกินไป
*พัดลมระบายความร้อนอยู่ในสภาพที่ ใช้งานได้ดี ไม่แตกหักหรือบิดงอ
*หากตรวจพบรอยรั่วตามจุดต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้งระบายความร้อน ปั้มน้ำ เป็นต้น
ควรให้ช่างที่มีความชำนาญการดำเนินการซ่อมแซมทันที

 ขณะขับขี่ ผู้ขับขี่สามารถสังเกต อาการเครื่องยนต์ร้อนจัดได้จากเข็มวัดอุณหภูมิที่หน้าปัด
โดยปกติเข็มวัดอุณหภูมิจะอยู่ระหว่างตัว C และ H หรือ 85 - 90 องศาเซลเซียส
หากเข็มวัดอุณหภูมิเคลื่อนมาอยู่ใกล้ตัว H แสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนจัด
ให้รีบปิดแอร์ เพื่อลดการทำงานของเครื่องยนต์และนำรถจอดเข้าข้างทางในบริเวณ ที่ปลอดภัยในทันที
และรีบเปิดฝากระโปรงรถเพื่อระบายความร้อนออกจากห้องเครื่อง

 แต่หากมีไอน้ำพุ่งขึ้นมาจากฝากระโปรงรถ ควรรอจนความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง
แล้วจึงค่อยเปิดฝากระโปรงรถ

 ไม่เปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะไอน้ำอาจพุ่งขึ้นมาจนทำให้บาดเจ็บได้
และห้ามราดน้ำที่เครื่องยนต์ เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหาย

 ในขณะเปิดฝาหม้อน้ำ ควรนำผ้าหนาๆ มาคลุม หรือวางบนฝาหม้อน้ำ
กรณีที่น้ำในหม้อน้ำเหลือน้อยหรือหมด ควรรอจนเครื่องยนต์เย็นลง
แล้วจึงค่อยเติมน้ำเปล่าหรือน้ำยาหล่อเย็นอย่างช้าๆจนเต็ม และปิดฝาหม้อน้ำให้สนิท

 จากนั้นให้ลองสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เดินเบา เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องยนต์
หากพบรอยรั่วซึม ควรแจ้งช่างผู้ชำนาญการดำเนินการซ่อมแซมทันที
เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัด จนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้รถ
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #32 เมื่อ: 29 มกราคม 2010, 10:02:33 »

หยุดแล้ว...ไม่เจ็บตัว
ขนาดเดินไปเดินมาเฉยๆ ยังชนกันปากแตกได้ นับประสาอะไรกับรถที่แล่นไปทั่ว โอกาสกระทบกันย่อมมีอยู่สูง
อย่าว่าแต่ขับรถเลยแม้กระทั่งจอดรถแวะกินข้าวต้มอยู่ข้างทาง พวกยังเซเข้ามาเสยจะเละไปทั้งแถบ

เรื่องของอุบัติเหตุแม้จะเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ให้เกิดขึ้นมิได้ แต่เราสามารทำให้โอกาสเกิดเรื่องมีน้อยลง
หรือลดอาการบาดเจ็บยามเป็นเรื่องให้เบาบางลงได้ สิ่งที่ควรจะสนใจเรียนรู้และฝึกฝนนั้น
ก็น่าจะเป็นเรื่องของการหยุดรถ ว่าควรกระทำประการใดรถจึงจะสามารถหยุดได้อย่างที่เราต้องการ
ซึ่งวิธีหยุดรถให้ดีนั่นไม่ได้หมายความว่าจะพึ่งพาเฉพาะประสิทธิภาพเบรคของรถกันเพียงอย่างเดียว
ยอมรับว่า รถสมัยนี้มีอุปกรณ์ไฮเทค ที่สามารถช่วยคนขับได้เยอะ ในเรื่องของการหยุดรถให้ปลอดภัย
ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก ABS ป้องกันการล็อคของล้อ ระบบ BA ช่วยเพิ่มพลังในการเบรคแบบรวดเร็วกะทันหัน
หรือระบบ EBD ที่รู้ดีว่าจะต้องใช้แรงดันเบรคแต่ละล้อกี่มากน้อย
แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังต้องขึ้นอยู่กับเท้าที่เหยียบเบรคลงไปด้วย

เบรกแบบอัตโนมัติ
การขับรถที่ดีนั้นต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ถ้าเผลอเมื่อไหร่มักจะเป็นเรื่อง (เกือบทุกที) แต่ในความเป็นจริงนั้น
คงไม่สามารถตั้งสมาธิได้ตลอดเวลา บางคนก็ขับรถไปคิดไป เรื่องงาน ครอบครัว หรืออะไรต่อมิอะไร
บางคนก็มัวแต่พูดโทรศัพท์ และมีอีกเยอะที่มักสนใจวิวข้างทางมากกว่าเส้นทาง ก็เลยเกิดเป็น “ทีเผลอ” ขึ้นมา

ด้วยเหตุที่เราไม่สามารถมีสมาธิในการขับรถได้ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยเราก็ต้องป้องกันและแก้ไข
โดยการกระทำให้เป็นสัญชาตญาณในการแก้ไขเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นการหักหลบหรือเบรคก็ตาม
ซึ่งหากทำได้โดยสมองไม่ต้องสั่ง จะทำได้ดีและรวดเร็วกว่าผ่านการสั่งของสมองซะอีก
ซึ่งลักษณะเช่นนี้ ไม่ใช่สิ่งที่คิดแล้วทำได้ ต้องมีประสบการณ์และผ่านการฝึกหัดทดลอง ซึ่งเล่นไม่ยากนัก
โดยการหาเส้นทางที่ปลอดภัยไม่มีรถ อาจจะเป็นถนนในหมู่บ้านจัดสรรที่รกร้าง ตรอก หรือซอยลึกที่ไม่ค่อยมี
ใครผ่าน ให้ขับรถด้วยความเร็วแค่ 50-60 กม./ชม. ก็พอ เพราะอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดที่ความเร็วประมาณนี้
แล้วหัดเบรคโดยการยกเท้าจากคันเร่งมาเหยียบเบรคให้เร็วและให้แรงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฟังเหมือนไม่ยากแต่ความจริงมันก็ไม่ง่ายนักต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะเบรคได้รวดเร็ว ดั่งใจต้องการ


เหยียบลงไปอย่ากลัวเบรคเจ็บ
เชื่อหรือไม่ว่าส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยกล้าลงเบรคกันแรงเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้เค้าจึงต้องคิดค้นเจ้าระบบ BA หรือ
Brake Assist System ขึ้นมาให้ช่วยใช้งานกัน เนื่องจากโดยมากมักจะใช้เบรคกันเบาเกินไป โดยเฉพาะสมัยแรกที่
ระบบเบรค ABS เริ่มมีใช้กัน คนขายรถมักจะโฆษณาว่าช่วยให้รถหยุดได้ดีกว่ารถที่ไม่มีระบบเบรค ABS ใช้
ซึ่งก็จริงเหมือนกัน แต่มันหมายถึงการเบรคบนทางเปียกลื่นต่างหาก ถ้าเป็นการเบรคบนถนนแห้งแล้ว
รถที่มีระบบเบรก ABS นั้นจะใช้ระยะเวลาในการเบรคยาวกว่ารถที่ไม่มีระบบเบรค ABS ใช้
เนื่องจากการเบรคของ ABS จะไม่จับจานเบรคแน่นตลอดเวลา แต่จะจับและคลายตัวปล่อยจานเบรคเป็นจังหวะ
เพื่อให้ล้อยังหมุนไปจับกับพื้นถนนลดการล็อคของล้อ จึงช่วยให้มีการทรงตัวที่ดีขณะเบรค
และสามารถควบคุมทิศทางได้ ด้วยเหตุนี้พวกรถที่มีABS จึงไม่ได้หมายความว่า
การเบรคบนทางแห้งจะได้ระยะเบรคสั้นกว่าพวกรถที่ใช้ระบบเบรคแบบธรรมดา

ดังนั้น ในบทเรียนการขับรถปลอดภัยของบริษัทรถทุกแห่งหรือในหลักสูตรการขับปลอดภัย
จะมีบทเรียนการเบรคของรถที่ใช้ระบบเบรค ABS ด้วย โดยการสอนให้เบรคอย่างรวดเร็วและรุนแรง
การเบรคบนทางที่มีผิวถนนต่างกัน ระหว่างล้อซ้ายกับล้อขวา เช่น ล้อด้านซ้ายอยู่บนทางเปียกหรือลื่น
แต่ล้อฝั่งขวาอยู่บนทางปกติ และการเบรคบนทางลื่น รวมถึงการหักหลบ พร้อมกับการเบรค
เพื่อให้คนขับได้สัมผัสกับการลงเบรคกันอย่างหนักหน่วงกว่าที่คิด และให้รับทราบถึงผลการเบรคว่า
เป็นประการใด จะได้รู้วิธีและพร้อมที่จะใช้งาน

สำหรับรถรุ่นเก่าที่ยังไม่มีระบบเบรค ABS ใช้ จะมีปัญหาอยู่บ้างเรื่องการสึกของยาง
หากมีการใช้เบรคอย่างหนักหน่วงจนกระทั่งล้อล็อค แต่ก็ยังอยากให้สัมผัสกัน หากเล่นกันไม่กี่ครั้ง ยางคงไม่สึก
หรอจนเสียรูป โดยการหาทางที่กว้างขวางและโล่งพอ หากเกิดอะไรขึ้นจะได้ไม่เป็นอันตราย
ต่อจากนั่นให้ลองเบรคกันที่ความเร็ว 60 กม./ชม.โดยการเหยียบเบรคให้เร็วและแรงที่สุด
จนกระทั่งล้อเกิดการล็อคเริ่มมีอาการลื่นไถล ให้รีบถอนเท้าออกจากเบรคแล้วกดซ้ำ
ส่วนพวกรถที่เป็นเกียร์ธรรมดา ให้หัดเหยียบเบรคนิ่งแล้วจึงค่อยเหยียบคลัทซ์
เพื่อจะได้ใช้เอนจิ้นเบรคมาช่วยการหน่วงความเร็วของรถ และด้วยความเร็วระดับนี้หากใช้รถเกียร์ธรรมดา
ลองเบรคที่เกียร์ 3 เกียร์ 4 กับเกียร์ 5 (รถ เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ) จะพบว่าระยะเบรคในเกียร์ 3 จะสั้นกว่า เกียร์ 4
และเกียร์ 5 ตามลำดับ เพราะในจังหวะเกียร์ 3 จะมีเอนจิ้นเบรคมากกว่าและที่เกียร์ 4 ก็มีเอนจิ้นเบรคมากกว่าเกียร์
5 ซึ่งจะได้นำการเชนจ์เกียร์ไปช่วยในการใช้งานจริงเพื่อให้ได้ระยะเบรคสั้นลง


รู้จักหน้ารู้จักใจ
ควรจะพยายามทำความเข้าใจลักษณะการทำงานของเบรคให้ดี รถแต่ละรุ่นแต่ละแบบจะมีการทำงานของเบรค
แตกต่างกันอยู่บ้าง อย่างพวกรถรุ่นเก่าที่ยังไม่มี ABS ใช้ หรือพวกที่ใช้ระบบเบรคแบบหน้าดิสค์หลังดรัม
จะพบว่าเมื่อเหยียบเบรคแล้วในจังหวะแรกตัวรถยังไม่ลดความเร็วลง ต้องเหยียบเบรคให้ลึกลงไปอีกนิด
คราวนี้ผ้าเบรคถึงจะจับตัวชะลอความเร็วของรถลงมา และเมื่อเหยียบเบรคให้ลึกลงไปอีก การทำงานของเบรค
จะเพิ่มเป็นทวีคูณ ในรูปแบบนี้เปอร์เซ็นต์ล้อล็อคมีอยู่สูง ต้องระมัดระวังเรื่องรถลื่นไถลเสียการทรงตัวให้ดี
โดยเฉพาะยามเบรคแบบกะทันหัน หรือเบรคอยู่บนทางเปียกลื่น

ในอีกลักษณะหนึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกรถรุ่นใหม่ที่มีระบบ ABS ใช้แล้ว
และมักจะเป็นพวกรถที่ใช้ระบบดิสค์เบรคทั้ง 4 ล้อ การเหยียบเบรคจะเริ่มมีประสิทธิภาพสูง ตั้งแต่ต้นเลย
พอแตะเบรคลงไปก็รู้สึกได้เลยว่าเบรคเริ่มทำงานแล้ว ในลักษณะเช่นนี้การเบรคเพื่อชะลอความเร็วของรถ
จะทำได้ดี ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถ้าเราเพิ่มกำลังในการเหยียบเบรคอีกหน่อยรถต้องหยุดแน่นอน
อันเป็นการเปรียบเทียบกับความรู้สึกที่สัมผัสได้จากประสิทธิภาพในการทำงานของเบรค
จนกระทั่งเกิดมีเหตุด่วนเหตุร้ายทำให้ต้องใช้เบรคเพื่อหยุดรถขึ้นมา ปรากฏว่าเมื่อใช้แรงในการเหยียบเบรคตาม
ที่คิดเอาไว้ กลับไม่สามารถ หยุดรถได้ตามต้องการ เพราะลักษณะการทำงานของเบรคแบบนี้
ช่วงเหยียบเบรคเพื่อชะลอรถมักจะทำตัวดี แต่ถ้าจะเบรคเพื่อหยุดค่อนข้างลำบาก
ต้องใช้แรงกดคันเหยียบเบรคมากกว่าที่คิดเยอะเลย ซึ่งกว่าจะรู้มักจะ “ตูม” ซะก่อน


ทำตัวพร้อมที่จะหยุดทุกเวลา
เราสามารถแบ่งลักษณะการขับรถได้ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การขับขี่ในเมือง และการเดินทางออกต่างจังหวัด
ซึ่งในการขับรถอยู่ในเมืองนั้น จะว่าไปโอกาสรถสะกิดกันมีมากกว่าตอนเดินทางซะอีก
เพียงแต่ว่ามันไม่รุนแรงเท่านั้นเอง ตัวก่อเรื่องหลักก็มีพวกรถแท็กซี่ที่พร้อมจะแว็บเข้ารับผู้โดยสาร
โดยไม่สนใจว่าจะต้องตัดเลนจากขวาสุดมาซ้ายสุด รถมอเตอร์ไซด์ที่พร้อมจะแซงซ้ายเมื่อเราเปิดไฟเลี้ยวซ้าย
และชอบแซงขวา อีตอนเราเปิดไฟเลี้ยวขวา รถเมล์ใหญ่ รถเมล์เล็ก กับรถตู้โดยสาร ที่พร้อมจะออกจากป้ายทันที
ที่ต้องการ โดยไม่สนใจรถที่อยู่เลนขวา โปรดหลบเอาเองถ้าไม่อยากโดนโซ้ย

จุดอันตรายที่ควรระมัดระวังให้มาก จะมีอยู่ 2 อย่างประการแรกเป็นช่วงขึ้นสะพานหรือเนินที่ไม่เห็นฝั่งตรงข้าม
เส้นทางโล่งกดกันได้สบาย แต่ที่ไหนได้พอพ้นเนินขึ้นมาก็เจอรถจอดติดเป็นทิวแถว ทำให้ต้องตาลีหรือตาเหลือก
กดเบรคกันแต่มักจะไม่ทันซะแล้ว หรือหากเราเบรคทันก็มักจะโดนรถที่ตามหลังมาอัดเอา ดังนั้นถ้าเจอสะพาน
หรือเนินที่ไม่เห็นสภาพฝั่งตรงข้ามควรจะชะลอความเร็วลงนิด โดยการเหยียบเบรคเบาๆ แช่เอาไว้
เพื่อให้รถที่ตามหลังเห็นไฟเบรกจะได้ลดความเร็วลงมั่ง รวมทั้งมองเลนข้างๆ ว่าว่างหรือเปล่า
เผื่อต้องใช้พื้นที่ในการหักหลบ พยายามประพฤติให้เป็นนิสัย จนกระทั่งทำได้เป็นอัตโนมัติทุกครั้งโดยไม่ต้องสั่ง

ช่วงการลงสะพานและลงเนินเป็นจุดอันตรายอีกแห่งหนึ่ง ด้วยแรงรถผสมกับแรงดึงดูดของโลกทำกินแรงเบรค
มากกว่าปกติ เวลาเป็นเรื่องมักจะเบรคไม่ค่อยทัน ต้องระมัดระวังให้ดี
และหากมีเรื่องให้ใช้เบรคต้องเผื่อโดยการเบรคให้หนักกว่าธรรมดา

การขับรถยามท่องเที่ยวเดินทาง นอกจากภัยที่เกิดขี้นจากตัวเอง เช่น “เมาแล้วขับ” หรือ “ง่วงแล้วขับ”
ก็ยังมีปัญหาในด้านการขับขี่ยิ่งเดินทางยาวใช้เวลาเยอะโอกาสพลาดยิ่งสูง ตอนแรกอาจจะตั้งอกตั้งใจขับ
แต่พอนานไปก็ชักจะไร้สมาธิ ดังนั้นต้องพยายามเตือนตัวเองให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ
แล้วยังต้องเรียนรู้ช่องทางที่จะเพิ่มความปลอดภัย ตลอดจนการระมัดระวังจุดอันตรายเป็นพิเศษ

สิ่งที่พูดกันมากในการขับรถด้วยความเร็วและวิ่งทางยาว อยู่ที่ควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าเท่าไหร
บ้างก็ใช้สูตรเพิ่มระยะทุกความเร็วที่เพิ่มขึ้น 10 กม./ชม. ให้เพิ่มระยะห่างอีก 1 ช่วงคันรถ ซึ่งออกจะรวบรัดไปนิด
เพราะมีตัวแปรค่อนข้างเยอะ อย่างเช่น เส้นทางราบเรียบและโล่ง ซึ่งเรามองได้กว้างไกล
หากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเรา มักเห็นได้ล่วงหน้า แม้รถคันข้างหน้าจะบดบังสายตาไปบางส่วนก็ตาม
แบบนี้จี้ติดเข้าไปหน่อยก็ได้ เพราะหากมีอะไรเราสามารถมองเห็นได้ก่อน
นอกจากนี้ประสิทธิภาพการทำงานของเบรคในรถแต่ละรุ่นก็ต่างกัน อย่างรถคันหน้าเป็นรถยุโรปราคาแพง
ใช้ดิสค์เบรคแบบมีช่องระบายความร้อนทั่งหน้าและหลังใช้แม่ปั๊ม 4 Pot ที่ล้อหน้า ส่วนล้อหลังใช้แบบ 2 Pot
แค่แตะเบรคเบาๆ ความเร็ว 160 กม./ชม. ยังใช้เวลาหยุดไม่กี่สิบเมตร ต่างกับรถคันหลังเป็นรถญี่ปุ่นคันโตเครื่อง
ใหญ่ แต่ใช้เบรคอันนิดเดียว ด้านหน้าใช้แม่ปั๊ม Pot เดียว ส่วนด้านหลังก็เป็นดรัมเบรค การเบรคนั้นวางใจลำบาก
จนกระทั่งเจ้าของรถจะติดร่มอยู่แล้ว คิดเอาเองว่าแบบนี้หากรถญี่ปุ่นขับตามหลัง ไปเทียบกับให้รถยุโรบอยู่หลัง
โดยขับด้วยความเร็วพอๆ กัน ทั้งสองกรณี ระยะทิ้งห่างควรจะเท่ากันหรือไม่
อีกทั้งยังเป็นเรื่องฝีมือคนขับว่ามือเท้าว่องไวขนาดไหน

ดังนั้นการทิ้งระยะห่างกับรถคันข้างหน้า จึงควรว่ากันตามสถานการณ์และความรู้สึก โดยถามตัวเองว่า
“ด้วยระยะห่างแค่นี้หากรถหน้ามีอะไรเกิดขึ้น เราสามารถหยุดทันหรือเปล่า”
ถ้าตอบว่าสบายก็ยังสามารถขยับเข้าไปใกล้กว่าเดิมได้อีก
แต่ถ้ารู้สึกเหงื่อแตกใจสั่นมีความเครียดในการขับตาม ก็ควรยืดระยะให้ห่างออกมา

ในการขัยรถท่องเที่ยวเดินทางควรใส่ใจกับจุดคับขันต่างๆ อย่างเช่น ถนนผ่านเขตหมู่บ้าน หรือมีชุมชนหนาแน่น
หากเป็นยามบ่ายใกล้เย็นก็ต้องระวังรถจักรยาน และเด็กนักเรียนที่เพิ่งเลิกเรียนกำลังเดินทางกลับบ้านให้ดี
และถ้าเป็นยามเย็นใกล้มืด ก็ต้องระวังพวกรถอีแต๋น หรือพวกรถมอเตอร์ไซด์โผล่พรวดออกมาจากข้างทาง
ต้องใช้ความเร็วที่แน่ใจว่าหากมีอะไรโผล่ขึ้นมาขวางทางบนถนน เราสามารถเบรครถหยุดได้ทัน


เบรคข้างหน้าแต่ให้ระวังข้างหลัง
บอกตรงๆ ว่าในการหยุดรถนั้น ทางด้านหน้าถือว่า “ไม่เท่าไหร่” หากเรามีการเตรียมตัว มีความรู้ มีประสบการณ์
มักจะสามารถเบรคได้ทันท่วงที แต่ที่มีปัญหาคือพวกรถที่ตามหลังเรามานั้น
เค้าสามารถเบรคทันตามเราไปด้วยหรือเปล่า ไม่ใช่ยึดเอาบั้นท้ายรถเราเป็นที่เบรค
ด้วยเหตุนี้ในการเบรคหยุดรถที่ปลอดภัยนั้น ไม่ใช่ว่าจะมองเฉพาะด้านหน้าอย่างเดียว
แต่ต้องมองด้านหลังดูรถที่ตามด้วยว่าเค้าเบรคทันเหมือนเราหรือเปล่า หากพบว่าท่าทางจะรอดลำบาก
เราก็ควรขยับรถไปทางด้านให้มากที่สุดเป็นการเพิ่มระยะในการเบรคขึ้นมาอีกหน่อย
และหากเป็นไปได้ในการขับรถ ให้พยายามมองรถช่องทางด้านข้างเป็นระยะด้วย
เพราะหากคันหน้าหยุดรถแล้วเราเกิดเบรคไม่ทันขึ้นมา หรือหลังจากมองกระจกหลังดูการเบรครถแล้ว พบว่า
ท่าทางของรถคันหลังคงรอดยาก แล้วช่องทางด้านข้างที่เรามองไว้มันว่างพอจะแว่บหลบออกไปได้
ก็อย่าช้า ให้รีบเผ่นทันที
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #33 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2010, 10:32:32 »

การดูแลรักษาสีรถให้สวยสดใส
โดยธรรมชาติของสารเคมีที่นำมาประกอบเป็นสีนั้นจะสามารถต้านทาน
และคงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือความผันแปรของภูมิอากาศได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น
หากการบำรุงไม่ดีพอหรือไม่ถูกวิธีแต่จะทำให้รถเสียเร็วยิ่งขี้น

ข้อควรระวังเพื่อการรักษาสีรถ มีดังนี้

1.ไม่ควรจอดรถไว้ใกล้ๆ กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา
เช่น โรงงานผลิต อาหารสัตว์ โรงงานผลิตสารเคมีเพราะฝุ่นละอองจากอาหารสัตว์
หรือสารเคมีที่ปลิวมาติดผิวสีของ รถอาจจะเป็นกรดหรือด่างเข้มข้นสามารถกัดสีให้เป็น
จุดเป็นดวงได้หรือทำให้สีอ่อนตัวลงได้

2.ควรพยายามจอดรถในที่ร่มหรือที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นไม่อับชื้น
หากจำเป็นต้องจอดกลางแดด ควรใช้ผ้าคลุมกันแดดไว้

3.เมื่อขับรถผ่านบริเวณที่มีฝุ่น โคลนหรือชายทะเลเป็นเวลานานๆ ควรล้างฝุ่น โคลนหรือ
คราบต่างๆ ออกให้หมดเพราะคราบเหล่านี้ สามารถดูดความชื้นได้ดี จึงทำให้ฝิวสีเสื่อม
คุณภาพได้ง่ายและบางครั้งสิ่งสกปรกที่เกาะติดผิวสีรถก็เป็นสารเคมีที่ทำอันตรายต่อสีรถด้วย

4.อย่าทำให้รถเกิดรอยขีดข่วนหรือหลุดร่อนเพราะจะทำให้ตัวรถผุและจะลามออกเป็น
บริเวณกว้าง ทั้งนี้ เพราะรอยขีดข่วนจะไม่สามารถป้องกันความชื้นให้กับผิวโลหะได้

5.หากมีคราบน้ำมันหรือสารเคมีต่างๆ เปื้อนผิวสี ต้องรีบล้างออกทันที
โดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดหรือผสมสบู่อ่อนๆ หรือ แชมพูสำหรับล้างรถก็ได้ ห้ามใช้ทินเนอร์
น้ำมันหรือสารเคมีใดๆ ทำความสะอาดสีรถโดยเด็ดขาด
สารเคมีที่มีโอกาสจะถูกสีรถได้ง่ายก็คือ น้ำมันเบรกซึ่งจะกัดสีในทันทีที่สัมผัสกับสีรถ
การใช้จึงต้องระวังเป็นพิเศษ
นอกจากนี้น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และน้ำหอมประจำรถก็ฒีผลต่อสีรถเช่นกัน
หากหกเลอะรถควรรีบใช้ผ้านุ่มที่สะอาดเช็ดออกโดยเร็วและล้างด้วยน้ำ


ลบคราบสติ๊กเกอร์บนสีรถ
รอยคราบที่เกิดจากการแกะสติ๊กเกอร์ที่อยู่บนผิวสีรถออกนั้น สามารถแก้ไขได้
โดยใช้ยาขัด Extra100 แล้ว ลงแว๊กซ์อ่อนอีกครั้ง
ถ้าสีบริเวณที่ลอกสติ๊กเกอร์ออกนั้นแตกต่างกับผิวสีเดิมมาก
ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 1200 ขัดบนพื้นผิวบริเวณนั้นก่อนแล้วลงแว๊กซ์อีกครั้ง
แต่หากไม่แน่ใจที่จะลงมือแก้ไขเอง ควรนำรถเข้า ศูนย์บริการ ให้ช่างผู้ชำนาญทำ


แก้ปัญหารถสีด้าน
รถสีด้านเกิดจากการนำรถตากแดดไว้บ่อยๆ หรือใช้งานรถมาเป็นเวลานานโดยขาดการ
ดูแลรักษา วิธีดีที่สุดสำหรับการแก้ไขสีรถด้านคือ เจ้าของควรจะนำรถเข้าทำสีใหม่
เพื่อให้สีมีความ คงทน แต่ถ้าไม่ต้องการทำสีใหม่ให้ใช้แว๊กซ์ ขัดพื้นผิวบริเวณนั้น
โดยต้องเลือกใช้แว๊กซ์ให้ถูกกับประเภทงาน
การใช้แว๊กซ์ขัดจะช่วยได้เพียงแค่การชลอการเสื่อมสภาพของสีเท่านั้น ไม่สามารถทำให
้ผิวสีกลับสู่สภาพเดิมได้ นอกจากนี้การล้างรถก็มีส่วนทำให้รถด้านด้วยเช่นกัน
จึงไม่ควรล้างรถ ในช่วงที่เพิ่งใช้งานเสร็จหรือขณะที่พื้นผิวของรถยังร้อนอยู่ เด็ดขาด


สีที่ซ่อมใหม่กับสีเดิมไม่เหมือนกัน
โดยทั่วไปแล้วงานซ่อมสีโดยเฉพาะสีเมทัลลิก (สีที่มีสีบรอนช์ผสม)
การซ่อมสีใหม่ให้เหมือนเดิม 100% เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
ความซีดของสีเดิม แรงดันลมขณะพ่นสี อุณหภูมิของอากาศ
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการแห้งตัวของสีและขนาดของหัวปืนพ่นสี เป็นต้น ฉะนั้นหาก
ซ่อมสีใหม่แล้ว สีที่ได้กลมเกลือนหรือใกล้เคียงกับสีเดิมถึง 95% โดยที่มีเวลาผ่านไป
สีที่พ่นใหม่ไม่ต่างจากสีเดิมมากนัก ก็นับว่าเป็นงานซ่อมสีที่ดีเยี่ยมแล้ว
แต่ถ้าสีที่ซ่อมใหม่ แตกต่างจากสีเดิมมากจนเห็นได้ชัดก็แสดงว่าการผสมสีและ
การพ่นของช่างซ่อมสี ยังไม่ประณีตเท่าที่ควร ซึ่งควรจะนำเข้าแก้ไขสีใหม่อีกครั้ง


ข้อสำคัญรถต้องสะอาดอยู่เสมอ
การทำความสะอาดรถเป็นเรื่องที่เจ้าของรถควรให้ความเอาใจใส่เป็นประจำ
เพราะจะเป็นผลดีต่อสีรถด้วย
วิธีทำความสะอาดความเริ่มจากการใช้ไม้ขนไก่หรือถ้าผ้าแห้งนุ่มๆ
ปัดหรือเช็ดฝุ่นออกเบาๆ และผ้าที่ใช้จะต้องไม่มีความหยาบหรือมีของแข็งใดๆติดอยู่
หากปัดหรือเช็ดแล้วยังไม่สะอาดพอให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก
ไม่ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดอย่างรุนแรง เพราะอาจเกิดรอยขีดข่วนบนรถ
การล้างต้องใช้น้ำสะอาดและจะต้องล้างให้สะอาดด้วย หากสามารถทำได้ควรฉีดน้ำล้างดิน
โคลน หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ใต้ท้องรถให้สะอาดทุกส่วนด้วย โดยปฏิบัติดังนี้

• ควรล้างบริเวณใต้ท้องรถและล้อก่อนโดยใช้แปรงอ่อนๆ ขัดขณะฉีดน้ำล้าง
หรือจะใช้น้ำผสม สบู่ล้างครั้งหนึ่งก่อนแล้วล้างซ้ำด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง

• ล้างจากส่วนบนสุดของรถลงมา ไม่ควรใช้แปรงขัดเป็นอันขาด
ให้ใช้ผ้านุ่มๆ ฟองน้ำหรือ หนังชามัวส์เท่านั้น เพราะอาจทำให้สีถลอกได้

• คราบสกปรกที่น้ำธรรมดาล้างไม่ออก ให้ใช้น้ำสบู่ล้างไม่ควรใช้ผงซักฟอกล้างรถ
เมื่อคราบสกปรก ออกหมดแล้ว ให้ใช้น้ำสะอาดล้างซ้ำอีกครั้ง

• หลังจากล้างน้ำแล้ว ต้องเช็ดให้แห้งทันที
การปล่อยให้น้ำแห้งเองจะเกิดเป็นคราบน้ำเป็นดวงๆ ติดอยู่บนรถตลอดทั้งคัน

• เมื่อล้างรถจนสะอาดดีแล้วอาจจะใช้สารเคมีเคลือบสีพวกครีมขี้ผึ้งขัดให้แลด้วยเงางาม
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #34 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2010, 08:59:29 »

เปลี่ยนยางรถยนต์ สาเหตุทำให้ยางผิดปรกติ

การเปลี่ยนยางใหม่จะต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

เมื่อต้องการเปลี่ยนยางใหม่ที่แตกต่างไปจากของเดิม ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. น้ำหนักสูงสุดที่ยางรับได้
ยางที่เปลี่ยนใหม่จะต้องสามารถรับภาระสูงสุดได้ไม่น้อยกว่ายางเดิม มิฉะนั้นอาจทำให้ยางระเบิดได้

2. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อรถ
การเปลี่ยนยางที่ถูกต้อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อไม่ควรแตกต่างไปจากเดิมมากนัก
เพราะจะทำให้ตัวเลขระยะทางและความเร็วที่มาตรวัดความเร็วรถยนต์แสดงผลไม่ตรงกับความเป็นจริง

3. ซีรีส์ของยาง
การเปลี่ยนซีรีส์หรืออัตราส่วนความสูงของยางที่ใช้จะมีผลต่อการขับขี่
ยางซีรีส์ต่ำ(มีการสะเทือนของรถน้อยกว่า)แต่ยางซีรีส์ต่ำจะยึดเกาะถนนได้ดีกว่ายางซีรีส์สูง

4. ดอกยาง
ควรเลือกดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวของถนนและลักษณะการใช้งาน เช่น
เลือกใช้ดอกยางขนาดใหญ่เมื่อใช้กับถนนที่ขรุขระหรือที่เป็นดินโคลน
หรือเลือกใช้ดอกยางแบบหมุนทิศทางเดียวกับรถที่ต้องวิ่งด้วยความเร็วสูง เป็นต้น

5. ความกว้างของหน้ายาง
การเปลี่ยนความกว้างของหน้ายางที่ใช้จะมีผลต่อการขับขี่รถยนต์ การใช้ยางที่มีความกว้างของหน้ายางมาก
จะทำให้ยางยึดเกาะกับถนนได้ดี และการเบรกรถมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากยางมีพื้นที่สัมผัสกับผิวถนนมาก
แต่จะมีข้อเสีย คือ ทำให้พวงมาลัยหนักและใช้กำลังขับเคลื่อนมาก ส่งผลให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น

นอกจากนี้หากหน้ายางกว้างมากเกินไป
ยางจะยื่นออกมานอกตัวรถเมื่อรถมีการยุบตัวยางจะมาชนกับตัวถังรถทำให้ยางชำรุดเสียหาย
สำหรับการเปลี่ยนยางที่มีความกว้างของหน้ายางน้อยลง ก็ส่งผลต่อการขับรถในทางตรงกันข้าม
ซึ่งตามปกติแล้วจะไม่ค่อยมีใครเปลี่ยนยางให้มีความกว้างของหน้ายางน้อยลง


สาเหตุที่ทำให้ยางสึกหรอผิดปกติ
ตามปกติยางรถยนต์เมื่อใช้งานก็จะมีการสึกหรอไปทีละน้อย โดยการสึกหรอของดอกยางจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
เท่ากันตลอด หน้ายางล้อที่ใช้เป็นล้อขับเคลื่อนรถจะมีการสึกหรอของดอกยางมากกว่าล้อที่รับน้ำหนักบรรทุกน้อย
การสึกหรอของดอกยางในลักษณะที่ไม่เท่ากันตลอดหน้ายางจะถือว่าเป็นการสึกหรอที่ผิดปกติ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน
หลายลักษณะ เช่น สึกมากบริเวรไหล่ยางด้านใดด้านหนึ่ง สึกมากบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง
สึกมากเฉพาะตรงกลางหน้ายาง หรือสึกเป็นบั้งๆ โดยรอบด้านใดด้านหนึ่งของล้อ เป็นต้น


การสึกของยางที่ผิดปกติ มักจะเกิดจากสาเหตุสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ยางอ่อนเกินไป
การเติมลมด้วยความดันลมต่ำเกินไป จะทำให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนเฉพาะบริเวณไหล่ยาง
ซึ่งส่งผลให้ยางมีการสึกหรอมากตรงไหล่ยางทั้งสองข้าง

2. ยางแข็งเกินไป
การเติมลมด้วยความดันลมที่สูงเกินไปจะทำให้หน้ายางโป่งนูนสัมผัสกับผิวถนนเฉพาะตรงกลางหน้ายาง

3. มุมล้อผิด
การตั้งหมุนล้อผิดไปจากค่ากำหนด หรือมุมล้อคลาดเคลื่อนไปจากค่ากำหนดเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม
จะทำให้ยางมีการสึกหรอมากบริเวณไหล่ยางด้านใดด้านหนึ่งอย่างผิดปกติ

4. ชิ้นส่วนในระบบรองรับของรถยนต์ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
เมื่อชิ้นส่วนในระบบรองรับ เช่น โช้กอัพ(shock absorber)สำหรับกันสะเทือนเสียหรือเสื่อมสภาพ
จะส่งผลให้ยางสึกหรอในลักษณะเป็นบั้งๆโดยรอบของล้อด้านใดด้านหนึ่ง


ยางมีอายุการใช้งานเท่าไร
อายุการใช้งานของยางที่ไม่แน่นอนนั้น ไม่มีใครกำหนดได้ว่า สามารถใช้งานได้นานเท่าใด
เนื่องจากอายุการใช้งานของยางจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความดันลม น้ำหนักบรรทุกของรถ
สภาพของพื้นผิวถนนความเร็วของรถที่ใช้ การออกรถ การเบรกรถ
ความถูกต้องของมุมล้อสภาพของชิ้นส่วนในระบบรองรับและอุณหภูมิของอากาศ เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กุมภาพันธ์ 2010, 09:00:16 โดย E20VTU » บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #35 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2010, 08:49:05 »

อากาศร้อนมาแล้ว ควรดูแลรักษาหม้อน้ำ..(ระบบหล่อเย็น)

หม้อน้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเรื่องยนต์ การระบายความร้อนรถยนต์โดย
ทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน จึงต้องมีการดูแลระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ถ้าขาดการดูแลแล้วจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเครื่องยนต์อาจเสียหายได้

ถ้าหากรถยนต์ขาดระดับน้ำที่เหมาะสมจะมีสัญญาณเตือนบริเวณหน้าปัดของรถ
ตรงบริเวณใกล้กับเรือนไมล์บอกความเร็ว จะมีเข็มบอกโดยใช้สัญลักษณ์เป็น C เท่ากับ Cool
คือเย็น และ H เท่ากับ Hot คือ ร้อน ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูกต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H
ถ้าขาดการดูแลระดับน้ำ ความร้อนจะขึ้นถึงตัว H หรือเลยขึ้นไป
ถ้าอยู่ในระดับนี้อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ จึงต้องรีบหาน้ำเติมโดยเร็ว

น้ำใช้ในการเติมหม้อน้ำ ใช้น้ำธรรมดาที่ใสไม่มีตะกอน เช่น น้ำประปาทั่วไป
ขอให้เป็นน้ำสะอาดเท่านั้น ระวังอันตราย ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอน้ำที่พุ่งออกมา

ขั้นตอนการเติมน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ การเติมน้ำในหม้อน้ำนั้นแบ่งได้ตามลักษณะของหม้อน้ำ คือ

1. หม้อน้ำที่ไม่มีหม้อพักน้ำสำรอง กรณีนี้จะเป็นรถรุ่นเก่า จะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้เราดูระดับ
น้ำก็ต้องเปิดฝาหม้อน้ำโดยตรง และดูว่าระดับน้ำในหม้อน้ำนั้นลดลงหรือไม่
ถ้าลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เต็มพอปิดฝาหม้อน้ำได้ อย่าให้น้ำล้นออกมามาก
ในกรณีนี้ต้องคอยเปิดดูระดับน้ำทุกวัน เพราะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้

2. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรองแต่ยังมีฝาปิดหม้อน้ำให้เติมอยู่ ระบบนี้เป็นระบบใช้กับรถรุ่นใหม่
กว่าข้อ 1 คือในส่วนของหม้อน้ำจะมีที่เก็บน้ำสำรองเป็นพลาสติกติดอยู่ข้างหม้อน้ำและมีสายต่อ
โยงถึงกัน ในระบบนี้ถ้าจะเติมในหม้อน้ำ ต้องเติมให้หม้อน้ำเต็มตามระดับที่เหมาะสมเสียก่อน
จึงเติมน้ำลงไปในหม้อน้ำสำรอง การเติมน้ำในหม้อน้ำพักน้ำสำรองต้องเติมตามจำนวนที่เหมาะสม
ห้ามเกินขีดที่กำหนดไว้ โดยจะกำหนดไว้คือ

MAX คือ จำนวนน้ำมากที่สุดอยู่ที่ระดับนี้ ห้ามเติมน้ำจนเกินระดับนี้โดยเด็ดขาด
MIN คือ จำนวนน้ำมีน้อยต้องเติมให้อยู่ในระดับ MAX

หม้อน้ำที่มีห้องพักน้ำสำรองจะมีส่วนดีคือ น้ำที่เติมลงไปจะสุญเสียน้อย คือเมื่อได้รับความร้อน
กลายเป็นไอ ก็จะถูกดันให้มารวมตัวเป็นหยดน้ำที่หม้อพักน้ำนี้ และเมื่อในหม้อพักน้ำนี้เครื่อง
เย็นลงก็จะทำการระบายความร้อนต่อไป ถ้ารถมีหม้อน้ำสำรองก็สามารถช่วยประหยัดเวลาใน
การดูแลระดับน้ำในหม้อน้ำได้ การตรวจเช็กระดับน้ำไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นประจำ
อาจตรวจเช็กประมาณ 15-30 วันต่อครั้ง เมื่อระดับน้ำลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เหมาะสม

3. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรอง แต่ไม่มีฝาเติมน้ำโดยตรงจากหม้อน้ำ
เป็นระบบใหม่ที่ใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ โดยการเติมน้ำในหม้อน้ำจะเติมได้ทางเดียวคือบริเวณหม้อ
พักน้ำสำรองจะไม่มีการเติมผ่านหม้อน้ำโดยตรง
การดูแลระดับน้ำนั้นเป็นวิธีเดียวกับการเติมน้ำในหม้อน้ำตามแบบที่ 2 แทนที่จะต้องเติมน้ำที่
หม้อน้ำด้วยก็ไม่ต้องเพราะสามารถเติมผ่านหม้อพักน้ำสำรองได้เลย
การดูแลระดับน้ำก็เช่นกันไม่ต้องดูแลบ่อย ประมาณ 15-30 วันจึงค่อยตรวจเช็ก

ในเรื่องของน้ำยากันสนิมหม้อน้ำกับน้ำยาทำความเย็นหม้อน้ำเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจว่า
ต้องการหรือไม่ แต่ส่วนที่น่าสนใจคือ น้ำยากันสนิม เพราะภายในหม้อน้ำเป็นโลหะ
ซึ่งสามารถเกิดสนิมได้ ถ้าเติมน้ำยากันสนิมอาจจะช่วยยืดอายุการใช้งานของหม้อน้ำและ
เครื่องยนต์ได้ ส่วนใช้ยี่ห้ออะไรนั้นต้องตัดสินใจกันอีกที
เพราะคุณภาพในการทำงานก็ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่ราคา

สำหรับการถ่ายน้ำในหม้อน้ำนั้นก็เป็นไปตามระยะเวลาในคู่มือรถที่ให้มา
ถ้าไม่มีการเกิดสนิมการถ่ายน้ำก็ยืดเวลานานขึ้น แต่ถ้าเป็นสนิมก็ต้องเร็วขึ้นเช่นกัน


วิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
น้ำในระบบหล่อเย็นหรือในหม้อน้ำของรถยนต์ควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี
ยกเว้นในกรณีที่เป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อตรวจพบ โดยการเปิดก๊อกหม้อน้ำหรือท่อยางที่ก๊อก
หม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้น้ำถ่ายออกได้เร็วขึ้น
เมื่อถ่ายน้ำหมดแล้วทำการปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไปจนเต็มตามอัตราหรือพิกัดที่บอกไว้
ควรเติมน้ำยากันสนิมลงไปเพื่อรักษาหม้อน้ำด้วย

หากพบว่าท่อยางของท่อน้ำชำรุดควรเปลี่ยนพร้อมกันไปด้วย เมื่อเสร็จแล้วต้องลองติดเครื่อง
เช็กการไหลเวียนของน้ำว่าเป็นไปตามปรกติหรือไม่
ถ้าพบรอยรั่วหรือการรั่วซึมควรให้ช่างทำการแก้ไข

พัดลมและสายพาน
สายพานของพัดลมจะทำหน้าที่หมุนปั๊มน้ำและเป่าลมไปยังหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน
หากสายพานขาดจะทำให้พัดลมไม่หมุนและน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าเก่าหรือชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจจะไปขาดกลางทางหรือขณะใช้รถอยู่ ถ้าหากพบว่าสายพานขาด
ขณะใช้รถและหม้อน้ำมีความร้อนขึ้นสูง ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเพื่อเติมน้ำอย่างเด็ดขาด

เพราะไอร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมได้ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน
และที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อใช้เปลี่ยน

การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้า เพราะปรกติจะมีสวิตช์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุน
และดับเองเมื่อหม้อน้ำร้อนและเย็น ต้องดับสวิตช์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลม

ข้อควรระวัง
 อย่าใช้สายพานเก่าหรือชำรุดที่ตรวจพบ
 อย่าปล่อยให้สายพานตึงหรือหย่อนเกินไป เมื่อตรวจพบควรให้ช่างช่วยแก้ไข
 อย่าให้มีน้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้ลื่นและหลุดออกหรือขาด
 อย่าใช้สายพานผิดขนาด


ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับระบบหล่อเย็น
 ถ้าเกจวัดความร้อนขึ้นถึงขัด H หรือสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต้องรีบขับรถเข้าจอดข้างทางอย่าฝืนขับต่อไป

 อย่าเปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนเป็นอันขาด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอนี้ที่พุ่งออกมา ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน

 อย่าใช้น้ำสกปรกเติมหม้อน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการอุดตัน

 ถ้าพบว่าน้ำในหม้อน้ำแห้งเร็วผิดปรกติ ต้องตรวจหา รอยรั่วหรืออาการรั่วและให้ช่างรีบแก้ไข

 หมั่นสังเกตเกจวัดความร้อนอยู่เสมอขณะขับขี่
ต้องตรวจหารอยรั่วหรืออาการรั่ว และให้ช่างรีบแก้ไข


ความรู้เกี่ยวกับเทอร์โมสตัท (ของระบบหล่อเย็น)
เทอร์โมสตัท ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นวาล์วหรือสวิตช์ทำหน้าที่
เปิด-ปิดน้ำไปหล่อลื่นเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าเทอร์โมสตัทชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิด ค้าง
ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไข

ถ้าความร้อนของเครื่องยนต์อุ่นขึ้นหลังจากติดเครื่องทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าเทอร์โมสตัท
เป็นปรกติ แต่ถ้าร้อนขึ้นอย่างช้าๆ แสดงว่าวาล์วเปิดค้าง หรือไม่มีการตัดตามปรกติ

การตรวจสอบหรือแก้ไขเทอร์โมสตัทควรเป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญหรือช่าง
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #36 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2010, 09:14:20 »

ความหมายของสีทะเบียนรถ
1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้าง
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน
ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนด

- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง
- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น
สีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
สีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์
สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อ
สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

2. รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า

รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟ
และรถโรงแรม รถยนต์บริการทัศนาจร เช่น รถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้
- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง
- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว

3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์
พวกรถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย
- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง
- ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น
สีดำุ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์
สีน้ำเงินุ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน
สีเขียว ุสำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
สีแดง ุสำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

หมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย
โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน
และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด
สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก
(ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)

4. รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม
- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง
- ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ

5. รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทาง
การทูต พวกรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด
แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่น รถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท 44 - 9999
- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)
- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ

6. รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล
ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้น

ลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้
ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ
หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ
- พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง)
- ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาว

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด
และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ พ.ศ. 2547.
บันทึกการเข้า
E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #37 เมื่อ: 24 มีนาคม 2010, 10:32:58 »

คลัทซ์...ดาบสองคมของนักขับรถ
ปัจจุบันนี้ผู้ขับรถรุ่นใหม่ทั้งหลายนิยมขับรถแบบเกียร์อัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความสะดวกและง่ายในการ
ควบคุมรถ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยนิยมขับเกียร์ธรรมดาเพราะขับสนุกกว่าหลายเท่า

แต่ทั้งนี้จะต้องเหยียบคลัทซ์ควบคู่ด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นการเบารถ เหยียบเบรก เลี้ยวรถ
แถมบางคนยังได้รับการบอกต่อๆกันมาว่าถ้ากลัวเครื่องยนต์ดับก็ให้เยียบคลัทซ์ไว้

ในการไปสอบใบขับขี่จากทางราชการก็เช่นเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะไม่ดูพฤติกรรมการขับรถของผู้เข้าทดสอบใน
เรื่องการใช้คลัทซ์เลย ความจริงแล้ว"คลัทซ์"นั้นคือมหันตภัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใหญ่หลวง
หากผู้ขับใช้บ่อยอย่างพร่ำเพรื่อเกินไป การเหยียบคลัทซ์แล้วปล่อยให้รถวิ่งไปมีค่าเท่ากับปล่อยเกียร์ว่าง
เช่นเดียวกับที่เรียกว่า "Coasting"
ในการสอบใบขับขี่สำหรับประเทศที่มาตรฐานสูงอย่างประเทศอังกฤษจะให้ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ สอบตกทันที

จากเกียร์ไปยังล้อรถยนต์ ขณะที่รถวิ่งและยังอยู่ในเกียร์แรงฉุดจากเครื่องยนต์จะถ่ายทอดกำลังไปกดที่ล้อรถ
เพื่อช่วยให้ล้อเกาะติดกับพื้นถนน ดังนั้นในเมื่อขับรถอยู่ หากผู้ขับไปเหยียบคลัทซ์เข้าไม่ว่าจะเป็นจากความเคยชิน
หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะทำให้แรงกดถนนจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาดไป รถจะไม่เกาะถนน
หากถนนลื่นหรือมีการหักเลี้ยว รถจะหมุนโดยทันที

โดยเฉพาะกับผู้ที่เคยชินกับการเบรกพร้อมกับเหยียบคลัทซ์ไปด้วยจะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น
เพราะแรงฉุดจากเครื่องยนต์ได้ถูกตัดขาดไป การเบรกก็จะยากขึ้นอีกเท่าตัว

อุบัติเหตุทางรถยนต์ทุกวันนี้สาเหตุหนึ่งก็คือ การใช้คลัทซ์เกินความจำเป็นนั่นเอง อาทิ จะเบรกก็เหยียบคลัทซ์
รถขึ้นเขา-เลี้ยงคัลทซ์ สิ่งเหล่านี้เรียกนี้ว่า "Coasting"
จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้รถลองเปลี่ยนอุปนิสัยการใช้คลัทซ์ใหม่ อย่างเช่น ลองเหยียบคลัทซ์ต่อเมื่อเปลี่ยนเกียร์หรือ
ขับช้าเพื่อเข้าที่แคบๆเท่านั้นเอง หรืออีกแบบขณะที่ขับรถมามีเหตุให้ต้องเบารถก็เพียงแค่ยกคันเร่งรถก็จะเบาลง
หากยกคันเร่งแล้วความเร็วยังไม่ลดตามที่ต้องการก็ใช้เท้าขวาแตะเบรกเบาๆแต่ห้ามไปเหยียบคลัทซ์เป็นอันขาด

หากจำเป็นจะต้องหยุดรถโดยทันทีให้เหยียบเบรกลงไปอย่างแรงและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์จนรถหยุดเกือบสนิทแล้ว
จึงเหยียบคลัทซ์พร้อมกับปลดเกียร์ว่าง ซึ่งการฝึกแบบนี้จะช่วยให้ควบคุมรถง่ายขึ้นไม่ปัดซ้ายขวาถึงแม้ถนนลื่น
อย่างไรก็ตามควรระวังเท้าซ้ายเพราะเป็นเท้าที่เหยียบคลัทซ์เมื่อรถออกตัวเต็มที่ให้เอาเท้าซ้ายวางไว้ที่พื้น
ไม่ต้องไปเหยียบคลัทซ์

พฤติกรรมแบบนี้ผู้ขับจะต้องฝึกบ่อยๆและสลัดของเก่าๆที่เคยชินออกไปเมื่อนั้นก็จะเป็นนักขับที่ถูกต้องลดอันตราย
ลงไปมาก เห็นไหมครับว่าคลัทซ์นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษเท่าๆกัน เพียงแต่เราต้องใช้ให้ถูกวิธืเท่านั้นเอง...
บันทึกการเข้า
jack@AE
AE Thailand Club Member
Junior
*****


หอย..มันเล็ก..ค่อยๆไปนะลูก

กำลังใจ: 127
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 465


« ตอบ #38 เมื่อ: 24 มีนาคม 2010, 23:43:26 »

 สุดยอด สุดยอด สุดยอด มึนสุดๆ
บันทึกการเข้า

Ku-Jub-92@SBA#01
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 101
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,399


« ตอบ #39 เมื่อ: 25 มีนาคม 2010, 01:47:02 »

 สุดยอด สุดยอด สุดยอด homsอ่านเมื่ยเลย
บันทึกการเข้า

อยู่หรือไม่อยู่จะมีค่าไรแล้วจะอยู่หาพี่อาทำไมวะ
eak ae saraburi
Super Senior
*****



กำลังใจ: 51
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,175


« ตอบ #40 เมื่อ: 25 มีนาคม 2010, 23:06:42 »

 สุดยอด สุดยอด สุดยอด สุดยอด
บันทึกการเข้า
!!ลุงเชษฐ@สระบุรี!!
Moderator
High Super Senior
*



กำลังใจ: 420
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE-101
รหัสเครื่องยนต์: 4E-โบ
อุปกรณ์แต่งรถ: สีขาว ๆ
สังกัดพื้นที่: AE SARABURI
ที่อยู่: ร้าน อมยิ้ม AUTO SHOP
กระทู้: 2,754


« ตอบ #41 เมื่อ: 02 เมษายน 2010, 09:01:35 »

คลัทซ์...ดาบสองคมของนักขับรถ
ปัจจุบันนี้ผู้ขับรถรุ่นใหม่ทั้งหลายนิยมขับรถแบบเกียร์อัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความสะดวกและง่ายในการ
ควบคุมรถ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยนิยมขับเกียร์ธรรมดาเพราะขับสนุกกว่าหลายเท่า

แต่ทั้งนี้จะต้องเหยียบคลัทซ์ควบคู่ด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นการเบารถ เหยียบเบรก เลี้ยวรถ
แถมบางคนยังได้รับการบอกต่อๆกันมาว่าถ้ากลัวเครื่องยนต์ดับก็ให้เยียบคลัทซ์ไว้

ในการไปสอบใบขับขี่จากทางราชการก็เช่นเดียวกัน เจ้าหน้าที่จะไม่ดูพฤติกรรมการขับรถของผู้เข้าทดสอบใน
เรื่องการใช้คลัทซ์เลย ความจริงแล้ว"คลัทซ์"นั้นคือมหันตภัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุใหญ่หลวง
หากผู้ขับใช้บ่อยอย่างพร่ำเพรื่อเกินไป การเหยียบคลัทซ์แล้วปล่อยให้รถวิ่งไปมีค่าเท่ากับปล่อยเกียร์ว่าง
เช่นเดียวกับที่เรียกว่า "Coasting"
ในการสอบใบขับขี่สำหรับประเทศที่มาตรฐานสูงอย่างประเทศอังกฤษจะให้ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ สอบตกทันที

จากเกียร์ไปยังล้อรถยนต์ ขณะที่รถวิ่งและยังอยู่ในเกียร์แรงฉุดจากเครื่องยนต์จะถ่ายทอดกำลังไปกดที่ล้อรถ
เพื่อช่วยให้ล้อเกาะติดกับพื้นถนน ดังนั้นในเมื่อขับรถอยู่ หากผู้ขับไปเหยียบคลัทซ์เข้าไม่ว่าจะเป็นจากความเคยชิน
หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะทำให้แรงกดถนนจากเครื่องยนต์ถูกตัดขาดไป รถจะไม่เกาะถนน
หากถนนลื่นหรือมีการหักเลี้ยว รถจะหมุนโดยทันที

โดยเฉพาะกับผู้ที่เคยชินกับการเบรกพร้อมกับเหยียบคลัทซ์ไปด้วยจะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น
เพราะแรงฉุดจากเครื่องยนต์ได้ถูกตัดขาดไป การเบรกก็จะยากขึ้นอีกเท่าตัว

อุบัติเหตุทางรถยนต์ทุกวันนี้สาเหตุหนึ่งก็คือ การใช้คลัทซ์เกินความจำเป็นนั่นเอง อาทิ จะเบรกก็เหยียบคลัทซ์
รถขึ้นเขา-เลี้ยงคัลทซ์ สิ่งเหล่านี้เรียกนี้ว่า "Coasting"
จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้รถลองเปลี่ยนอุปนิสัยการใช้คลัทซ์ใหม่ อย่างเช่น ลองเหยียบคลัทซ์ต่อเมื่อเปลี่ยนเกียร์หรือ
ขับช้าเพื่อเข้าที่แคบๆเท่านั้นเอง หรืออีกแบบขณะที่ขับรถมามีเหตุให้ต้องเบารถก็เพียงแค่ยกคันเร่งรถก็จะเบาลง
หากยกคันเร่งแล้วความเร็วยังไม่ลดตามที่ต้องการก็ใช้เท้าขวาแตะเบรกเบาๆแต่ห้ามไปเหยียบคลัทซ์เป็นอันขาด

หากจำเป็นจะต้องหยุดรถโดยทันทีให้เหยียบเบรกลงไปอย่างแรงและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์จนรถหยุดเกือบสนิทแล้ว
จึงเหยียบคลัทซ์พร้อมกับปลดเกียร์ว่าง ซึ่งการฝึกแบบนี้จะช่วยให้ควบคุมรถง่ายขึ้นไม่ปัดซ้ายขวาถึงแม้ถนนลื่น
อย่างไรก็ตามควรระวังเท้าซ้ายเพราะเป็นเท้าที่เหยียบคลัทซ์เมื่อรถออกตัวเต็มที่ให้เอาเท้าซ้ายวางไว้ที่พื้น
ไม่ต้องไปเหยียบคลัทซ์

พฤติกรรมแบบนี้ผู้ขับจะต้องฝึกบ่อยๆและสลัดของเก่าๆที่เคยชินออกไปเมื่อนั้นก็จะเป็นนักขับที่ถูกต้องลดอันตราย
ลงไปมาก เห็นไหมครับว่าคลัทซ์นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษเท่าๆกัน เพียงแต่เราต้องใช้ให้ถูกวิธืเท่านั้นเอง...

สุดยอด สุดยอด สุดยอด
บันทึกการเข้า


TON WIHARN DAENG ZONE
Senior
****


"Think, Believe, Dream, and Dare."

กำลังใจ: 288
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 824


« ตอบ #42 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2010, 17:10:36 »

อากาศร้อนมาแล้ว ควรดูแลรักษาหม้อน้ำ..(ระบบหล่อเย็น)

หม้อน้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนในการทำงานของเรื่องยนต์ การระบายความร้อนรถยนต์โดย
ทั่วไปจะใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน จึงต้องมีการดูแลระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ถ้าขาดการดูแลแล้วจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง และเครื่องยนต์อาจเสียหายได้

ถ้าหากรถยนต์ขาดระดับน้ำที่เหมาะสมจะมีสัญญาณเตือนบริเวณหน้าปัดของรถ
ตรงบริเวณใกล้กับเรือนไมล์บอกความเร็ว จะมีเข็มบอกโดยใช้สัญลักษณ์เป็น C เท่ากับ Cool
คือเย็น และ H เท่ากับ Hot คือ ร้อน ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H ระดับความร้อนของเครื่องยนต์ต้องได้รับการเติมน้ำในระดับที่ถูกต้อง
เข็มวัดความร้อนอยู่ในระดับปานกลางระหว่าง C กับ H
ถ้าขาดการดูแลระดับน้ำ ความร้อนจะขึ้นถึงตัว H หรือเลยขึ้นไป
ถ้าอยู่ในระดับนี้อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ จึงต้องรีบหาน้ำเติมโดยเร็ว

น้ำใช้ในการเติมหม้อน้ำ ใช้น้ำธรรมดาที่ใสไม่มีตะกอน เช่น น้ำประปาทั่วไป
ขอให้เป็นน้ำสะอาดเท่านั้น ระวังอันตราย ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอน้ำที่พุ่งออกมา

ขั้นตอนการเติมน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ การเติมน้ำในหม้อน้ำนั้นแบ่งได้ตามลักษณะของหม้อน้ำ คือ

1. หม้อน้ำที่ไม่มีหม้อพักน้ำสำรอง กรณีนี้จะเป็นรถรุ่นเก่า จะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้เราดูระดับ
น้ำก็ต้องเปิดฝาหม้อน้ำโดยตรง และดูว่าระดับน้ำในหม้อน้ำนั้นลดลงหรือไม่
ถ้าลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เต็มพอปิดฝาหม้อน้ำได้ อย่าให้น้ำล้นออกมามาก
ในกรณีนี้ต้องคอยเปิดดูระดับน้ำทุกวัน เพราะไม่มีหม้อพักน้ำสำรองให้

2. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรองแต่ยังมีฝาปิดหม้อน้ำให้เติมอยู่ ระบบนี้เป็นระบบใช้กับรถรุ่นใหม่
กว่าข้อ 1 คือในส่วนของหม้อน้ำจะมีที่เก็บน้ำสำรองเป็นพลาสติกติดอยู่ข้างหม้อน้ำและมีสายต่อ
โยงถึงกัน ในระบบนี้ถ้าจะเติมในหม้อน้ำ ต้องเติมให้หม้อน้ำเต็มตามระดับที่เหมาะสมเสียก่อน
จึงเติมน้ำลงไปในหม้อน้ำสำรอง การเติมน้ำในหม้อน้ำพักน้ำสำรองต้องเติมตามจำนวนที่เหมาะสม
ห้ามเกินขีดที่กำหนดไว้ โดยจะกำหนดไว้คือ

MAX คือ จำนวนน้ำมากที่สุดอยู่ที่ระดับนี้ ห้ามเติมน้ำจนเกินระดับนี้โดยเด็ดขาด
MIN คือ จำนวนน้ำมีน้อยต้องเติมให้อยู่ในระดับ MAX

หม้อน้ำที่มีห้องพักน้ำสำรองจะมีส่วนดีคือ น้ำที่เติมลงไปจะสุญเสียน้อย คือเมื่อได้รับความร้อน
กลายเป็นไอ ก็จะถูกดันให้มารวมตัวเป็นหยดน้ำที่หม้อพักน้ำนี้ และเมื่อในหม้อพักน้ำนี้เครื่อง
เย็นลงก็จะทำการระบายความร้อนต่อไป ถ้ารถมีหม้อน้ำสำรองก็สามารถช่วยประหยัดเวลาใน
การดูแลระดับน้ำในหม้อน้ำได้ การตรวจเช็กระดับน้ำไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นประจำ
อาจตรวจเช็กประมาณ 15-30 วันต่อครั้ง เมื่อระดับน้ำลดลงก็เติมน้ำลงไปให้เหมาะสม

3. หม้อน้ำที่มีหม้อพักน้ำสำรอง แต่ไม่มีฝาเติมน้ำโดยตรงจากหม้อน้ำ
เป็นระบบใหม่ที่ใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ โดยการเติมน้ำในหม้อน้ำจะเติมได้ทางเดียวคือบริเวณหม้อ
พักน้ำสำรองจะไม่มีการเติมผ่านหม้อน้ำโดยตรง
การดูแลระดับน้ำนั้นเป็นวิธีเดียวกับการเติมน้ำในหม้อน้ำตามแบบที่ 2 แทนที่จะต้องเติมน้ำที่
หม้อน้ำด้วยก็ไม่ต้องเพราะสามารถเติมผ่านหม้อพักน้ำสำรองได้เลย
การดูแลระดับน้ำก็เช่นกันไม่ต้องดูแลบ่อย ประมาณ 15-30 วันจึงค่อยตรวจเช็ก

ในเรื่องของน้ำยากันสนิมหม้อน้ำกับน้ำยาทำความเย็นหม้อน้ำเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจว่า
ต้องการหรือไม่ แต่ส่วนที่น่าสนใจคือ น้ำยากันสนิม เพราะภายในหม้อน้ำเป็นโลหะ
ซึ่งสามารถเกิดสนิมได้ ถ้าเติมน้ำยากันสนิมอาจจะช่วยยืดอายุการใช้งานของหม้อน้ำและ
เครื่องยนต์ได้ ส่วนใช้ยี่ห้ออะไรนั้นต้องตัดสินใจกันอีกที
เพราะคุณภาพในการทำงานก็ใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันตรงที่ราคา

สำหรับการถ่ายน้ำในหม้อน้ำนั้นก็เป็นไปตามระยะเวลาในคู่มือรถที่ให้มา
ถ้าไม่มีการเกิดสนิมการถ่ายน้ำก็ยืดเวลานานขึ้น แต่ถ้าเป็นสนิมก็ต้องเร็วขึ้นเช่นกัน


วิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
น้ำในระบบหล่อเย็นหรือในหม้อน้ำของรถยนต์ควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายประมาณ 2-3 ครั้งต่อปี
ยกเว้นในกรณีที่เป็นสนิมควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อตรวจพบ โดยการเปิดก๊อกหม้อน้ำหรือท่อยางที่ก๊อก
หม้อน้ำออก ควรเปิดฝาหม้อน้ำออกเพื่อช่วยให้น้ำถ่ายออกได้เร็วขึ้น
เมื่อถ่ายน้ำหมดแล้วทำการปิดก๊อกแล้วเติมน้ำสะอาดลงไปจนเต็มตามอัตราหรือพิกัดที่บอกไว้
ควรเติมน้ำยากันสนิมลงไปเพื่อรักษาหม้อน้ำด้วย

หากพบว่าท่อยางของท่อน้ำชำรุดควรเปลี่ยนพร้อมกันไปด้วย เมื่อเสร็จแล้วต้องลองติดเครื่อง
เช็กการไหลเวียนของน้ำว่าเป็นไปตามปรกติหรือไม่
ถ้าพบรอยรั่วหรือการรั่วซึมควรให้ช่างทำการแก้ไข

พัดลมและสายพาน
สายพานของพัดลมจะทำหน้าที่หมุนปั๊มน้ำและเป่าลมไปยังหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน
หากสายพานขาดจะทำให้พัดลมไม่หมุนและน้ำมีความร้อนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบสายพานอยู่เสมอ และหากพบว่าเก่าหรือชำรุดให้รีบเปลี่ยนทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจจะไปขาดกลางทางหรือขณะใช้รถอยู่ ถ้าหากพบว่าสายพานขาด
ขณะใช้รถและหม้อน้ำมีความร้อนขึ้นสูง ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำเพื่อเติมน้ำอย่างเด็ดขาด

เพราะไอร้อนจะพุ่งกระจายออกมาเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียโฉมได้ ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน
และที่สำคัญควรมีสายพานสำรองเอาไว้ในรถเพื่อใช้เปลี่ยน

การตรวจสอบพัดลมและสายพานต้องระวังเรื่องระบบไฟฟ้า เพราะปรกติจะมีสวิตช์อัตโนมัติควบคุมให้พัดลมหมุน
และดับเองเมื่อหม้อน้ำร้อนและเย็น ต้องดับสวิตช์เครื่องยนต์ก่อนทำการตรวจสอบสายพานและพัดลม

ข้อควรระวัง
 อย่าใช้สายพานเก่าหรือชำรุดที่ตรวจพบ
 อย่าปล่อยให้สายพานตึงหรือหย่อนเกินไป เมื่อตรวจพบควรให้ช่างช่วยแก้ไข
 อย่าให้มีน้ำมันหรือสิ่งหล่อลื่นติดสายพาน เพราะจะทำให้ลื่นและหลุดออกหรือขาด
 อย่าใช้สายพานผิดขนาด


ข้อควรทราบทั่วไปเกี่ยวกับระบบหล่อเย็น
 ถ้าเกจวัดความร้อนขึ้นถึงขัด H หรือสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ต้องรีบขับรถเข้าจอดข้างทางอย่าฝืนขับต่อไป

 อย่าเปิดหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อนเป็นอันขาด
เพราะจะได้รับอันตรายจากไอนี้ที่พุ่งออกมา ควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อน

 อย่าใช้น้ำสกปรกเติมหม้อน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการอุดตัน

 ถ้าพบว่าน้ำในหม้อน้ำแห้งเร็วผิดปรกติ ต้องตรวจหา รอยรั่วหรืออาการรั่วและให้ช่างรีบแก้ไข

 หมั่นสังเกตเกจวัดความร้อนอยู่เสมอขณะขับขี่
ต้องตรวจหารอยรั่วหรืออาการรั่ว และให้ช่างรีบแก้ไข


ความรู้เกี่ยวกับเทอร์โมสตัท (ของระบบหล่อเย็น)
เทอร์โมสตัท ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ เป็นวาล์วหรือสวิตช์ทำหน้าที่
เปิด-ปิดน้ำไปหล่อลื่นเครื่องยนต์เมื่อมีความร้อน ถ้าเทอร์โมสตัทชำรุดหรือวาล์วเปิด-ปิด ค้าง
ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนหรือทำการแก้ไข

ถ้าความร้อนของเครื่องยนต์อุ่นขึ้นหลังจากติดเครื่องทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แสดงว่าเทอร์โมสตัท
เป็นปรกติ แต่ถ้าร้อนขึ้นอย่างช้าๆ แสดงว่าวาล์วเปิดค้าง หรือไม่มีการตัดตามปรกติ

การตรวจสอบหรือแก้ไขเทอร์โมสตัทควรเป็นหน้าที่ของผู้ชำนาญหรือช่าง


 สุดยอด สุดยอด สุดยอด

 ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า



E20VTU
AE Thailand Club Member
High Super Senior
*****



กำลังใจ: 317
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รถยนต์: EE101
รหัสเครื่องยนต์: 4EFE
อุปกรณ์แต่งรถ: เดิมๆๆ
สังกัดพื้นที่: สระบุรี
ที่อยู่: สระบุรี
กระทู้: 2,114


« ตอบ #43 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2011, 08:59:11 »

 *กูรูวิชาการ*
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: